วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มารู้จักนิโคตินกันเถอะ

เมื่อ เราได้ยินคำว่า "นิโคติน" เรามักจะนึกถึงแต่เฉพาะบุหรี่ ซึ่งบุหรี่นั้นผู้ที่สูบมักจะมีค่านิยมที่ผิดว่าสูบแล้วเท่ และทำให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสังคมวัยรุ่น ซึ่งความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดเนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลเสียต่อ สุขภาพทั้งของผู้สูบและผู้อยู่รอบข้าง ซึ่งที่จริงแล้ววัยรุ่นสามารถเป็นหนึ่งหรือเด่นได้โดยไม่ต้องอาศัยหรือพึ่ง พายาเสพติด ดังเช่นแนวทางของโครงการ to be number 1. ของทูลกระหม่อมฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ อันที่จริงแล้วนิโคตินมีหลายรูปแบบ และบางรูปแบบก็มีประโยชน์ทางยา ดังนั้นเราจึงควรทำมาความรู้จักนิโคตินให้ดีขึ้น

นิโคตินคืออะไร

นิโคติน จัดเป็นสารพวกอัลคาลอยด์ และสามารถสกัดได้จากพืชใน genus nicotiana หลาย species แต่ส่วนมาก species ที่พบนิโคตินมากที่สุดคือ tabacum ต่อ มาพบว่ามีการศึกษาทดลองพบว่ามีผลที่คาดไม่ถึงที่เกิดจากนิโคตินที่เกิดที่ สมองและร่างกายของผู้เสพ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่และพบว่าการติดนิโคตินส่วนใหญ่จะเกิดจากการสูบบุหรี่ มากที่สุด ส่วนนิโคตินที่ติดน้อยลงมาจะเป็นรูปแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง รูปแบบเคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง รูปแบบยาพ่นจมูก (nasal spray) รูปแบบ inhaler (เครื่องใส่ยาดม)
สูตรทางเคมี : c10h14n2
ชื่อ ทางเคมี : 1-methyl-2-(3-pyridyl)pyrrolidine; beta-pyridyl-alpha-n-methylpyrrolidine ; (s)-3-(1-methyl-2-pyrrolidinyl)pyridine; 3-(1-methyl-2-pyrrolidinyl)pyridine
ลักษณะทางกายภาพ : เป็นของเหลวลักษณะคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี แต่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อนำไปเผาไฟและมีกลิ่นคล้ายกลิ่นยาสูบเมื่อ ปล่อยทิ้งไว้ในอากาศ
รูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่
บุหรี่ , ซิการ์, ซิกาแรตต์ , แบบแผ่นแปะผิวหนัง (transdermal), แบบเคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง (chewing gum) ซึ่ง 2 แบบหลังใช้สำหรับรักษาผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ (nicotine replacement therapy) นอกจากนี้ยังพบในยานัตถุ์, ยาเส้น อีกด้วย

วิธีรับนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย
- สูบ (smoking) (เช่น บุหรี่ เป็นซิการ์ (cigar ) หรือ ซิการ์แร็ตส์ (cigarettes)) , ผสมกับสารอื่นเช่น กัญชา เฮโรอีน แล้วมวนเหมือนซิการ์แร็ตส์แล้วสูบ
- สูด (snuff) เช่น ยานัตถุ์
- เคี้ยว (chewing) เช่น หมากฝรั่ง, ยาเส้น
- แปะที่ผิวหนัง (transdermal)
ฯลฯ

การดูดซึม
นิโคติน จะถูกดูดซึมทางผิวหนังและเยื่อเมือกที่บุผิวเช่นที่ในปากและในจมูก หรือการสูดดมทางปอด ปริมาณของนิโคตินและความรวดเร็วที่ร่างกายได้รับจะขึ้นอยู่กับวิธีการเสพ โดยการสูดควันพบว่าจะได้รับนิโคตินเป็นปริมาณที่มากและเร็วกว่าวิธีอื่นๆ

เภสัชวิทยาของนิโคติน
นิโคติน ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทเมื่อเสพในขนาดที่ต่ำๆจะกระตุ้นระบบประสาททำให้รู้สึก มีความสุข แต่ถ้าเสพในขนาดสูงนิโคตินจะมีผลต่อระบบประสาทที่ไปควบคุมระบบฮอร์โมนที่ เกี่ยวกับการหลั่งสาร โดยเฉพาะนิโคตินจะไปเพิ่มสารโดปามีน (dopamine) ในสมองและสารอื่นๆในร่างกายอีกด้วย เมื่อเสพนิโคตินแล้วผลที่แสดงออกทางร่างกายที่พบก็คือ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เกิดการทนต่อยาทำให้ต้องการเสพยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และเมื่อหยุดยาจะทำให้เกิดการถอนยา

พิษของนิโคติน
อาการพิษเฉียบพลัน
เมื่อ สูดดมอาจมีอาการแสบร้อนคล้ายถูกไฟไหม้ คลื่นไส้อาเจียน ชัก ซึ่งอาจนำมาสู่การหายใจล้มเหลวได้ ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย มึนงง สับสน อาจมีผื่นแดงที่ผิวหนัง รู้สึกปวดแสบปวดร้อนเหมือนไฟไหม้ แสบตา ตาแดง นอกจากนี้นิโคตินยังสามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งระบบประสาทส่วนกลาง

อาการพิษในระยะยาว
จากการทดลองในสัตว์พบว่าการได้รับนิโคตินในระยะยาวจะมีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์ และสามารถทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้

ความเป็นพิษของนิโคติน
นิโคติน มีค่า ld=60 mg. ซึ่งค่า ld นี้เป็นตัวที่บ่งบอกว่านิโคตินเป็นสารที่มีอันตรายสูง ในขณะที่ซิการ์มีสารนิโคตินอยู่ถึงมวนละ 100-120 mg. เนื่องจากในต่างประเทศได้เห็นว่านิโคตินมีอันตรายมากและขณะเดียวกันมีการเสพ สูงขึ้นมากในหมู่วัยรุ่นจึงได้ทำการพิจารณาและออกกฎใหม่เพื่อที่จะควบคุมสาร ตัวนี้ให้เข้มงวดมากขึ้น และในปัจจุบันในต่างประเทศเรื่องการสูบบุหรี่หรือการใช้นิโคตินและการติด บุหรี่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องรีบจัดการแก้ไขเนื่องจากการสูบบุหรี่มีผล กระทบต่อสุขภาพของประชาชนจำนวนมากในประเทศ และทำให้เกิดการติดนิโคติน จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพ สังคม สภาวะแวดล้อม

นิโคตินสามารถเสพติดหรือไม่
นิโคติน สามารถเสพติดได้ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดหรือผู้ที่ได้รับนิโคตินรูปแบบอื่นๆ ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและ/หรือเป็นเวลานาน การติดนิโคตินนั้น เมื่อติดแล้วสามารถเลิกได้ยากอีกด้วย จากการศึกษาข้อมูลเมื่อเร็วๆนี้พบว่านิโคตินสามารถทำลายสมองได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้พฤติกรรมของผู้เสพเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสมองเป็นส่วนที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะและควบคุมการแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆ สมองแต่ละส่วนควบคุมส่วนต่างและหน้าที่ต่างๆแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อนิโคตินทำลายสมองส่วนใดของผู้เสพจะทำให้อวัยวะหรือพฤติกรรมที่ สมองส่วนนั้นๆควบคุมอยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงไป

นิโคตินสามารถเสพติดได้หรือไม่
จาก การศึกษาจากข้อมูลต่างๆ ในต่างประเทศจัดว่านิโคตินเป็นยาที่สามารถเสพติดได้และยังพบว่ามีคนจำนวนมาก ทีเดียวติดยานิโคตินเดี่ยวๆ (โดยเฉพาะบุหรี่) มากกว่าติดนิโคตินที่ใช้ร่วมกับสารอื่นๆมีการศึกษาของ nhsda (national household survey on drug abuse ) ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่านิโคตินสามารถเสพติดได้เท่ากับเฮโรอีน และยังพบว่าผู้เสพนิโคตินโดยการสูบบุหรี่มีอัตราการตายสูงกว่าผู้ไม่เสพ นิโคตินอย่างสูงมาก การเสพนิโคตินทำให้อัตราการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่ไม่เสพมากโดยอัตราการเกิด มะเร็งมากขึ้นตามจำนวนนิโคตินที่ผู้เสพรับเข้าไป นอกจากนี้แล้วนิโคตินจะเพิ่มอัตราการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) โรคหัวใจ และยังมีผลต่อทารกในครรภ์อีกด้วย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ (secondhand smoker) จะมีอัตราการตายก่อนวัยอันควรแม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม และนอกจากนี้ยังพบว่าบุหรี่หรือนิโคตินสามารถทำลายสมองของผู้เสพนิโคตินอีก ด้วย ในขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกานี้ถือว่าการติดนิโคตินหรือติดบุหรี่เป็น วิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่ในวงการสาธารณสุข นิโคตินเป็นสิ่งเสพติดที่ถือเป็นด่านแแรกที่นำไปสู่ยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น ได้ เช่นสุรา โคเคน เฮโรอีน ยาอี ฯลฯ u.s.fda มีความพยายามที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมบุหรี่เสียใหม่ โดยจะจัดให้เป็น"ยา" (tobacco as a drug)

การควบคุมตามกฎหมาย
บุหรี่ -พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 พ.ศ. 2545
นิโคติน ในรูปแปะและรูปที่เคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง -พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2534


Computer Hardware Repair Systems

การเลิกบุหรี่ด้วยการให้นิโคตินทดแทน ( Nicotine Replacement Therapy : NRT )

เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายมากมาย แต่ปัจจุบันยังพบผู้ที่สูบบุหรี่เป็นจำนวนไม่น้อยจากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ที่สูบบุหรี่ต้องการจะเลิกสูบบุหรี่อย่างจริงจัง โดยที่มากกว่าร้อยละ 40 ของผู้ที่สูบบุหรี่ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการที่จะเลิก แต่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่เลิกบุหรี่ได้หลังจากเวลาผ่านไป 6 เดือน สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจเมื่อ พ.ศ.2542 พบว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก โดยเฉลี่ยใช้เวลาสูบ 17 ปี และพยายามถึง 7 ครั้ง กว่าจะเลิกสูบได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในบุหรี่มี่สารที่เรียกว่า นิโคตินซึ่งเป็นสารสำคัญในการเป็นกลไกในการติดบุหรี่
  • การติดบุหรี่เป็นการเสพติด 3 ทาง คือ
  1. การติดนิโคติน คือการที่ร่างกายปรับตัวต่อการใช้นิโคติน ในภาวะที่สูบบุหรี่ร่างกายจะทำงานได้อย่างปกติโดยมีนิโคตินเป็นส่วนหนึ่ง แต่เมื่อขาดนิโคตินร่างกายจะเสียสมดุลทำให้เกิดอาการขาดนิโคติน (withdrawal symptoms) เช่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย ปวดหัว นอนไม่หลับ วิงเวียนศีรษะ อารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ สมาธิไม่ค่อยดี คิดอะไรไม่ออก เป็นต้น ผลเหล่านี้มักทำให้ผู้ที่พยายามหยุดบุหรี่ทนไม่ได้และต้องการบุหรี่มาสูบอีก และเมื่อสูบบุหรี่ร่างกายได้รับนิโคตินอาการขาดนิโคตินก็จะหายไป
  2. การติดทางสังคมและสภาพแวดล้อม พบว่าคนรอบข้างและเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นทดลองสูบบุหรี่ โดยเฉพาะในวัยรุ่น การได้รับความยอมรับจากคนรอบข้างและเพื่อนฝูงทำให้ วัยรุ่นคนนั้นสูบบุหรี่ต่อไปจนกลายเป็นผู้ติดบุหรี่ นอกจากนี้ในปัจจุบันการหาบุหรี่เพื่อมาสูบนั้นเป็นเรื่องที่หาได้ง่าย
  3. การติดทางพฤติกรรมและจิตใจ เป็นการเสพติดชนิดหนึ่งโดยเกิดจากการเรียนรู้แล้วปฏิบัติจนเคยชิน ยกตัวอย่างเช่น การกินกาแฟหรือดื่มเหล้าไปด้วยสูบบุหรี่ไปด้วย ดังนั้นเวลากินกาแฟหรือดื่มเหล้าแล้วจึงอยากสูบบุหรี่ หรือ การสูบบุหรี่ในห้องทำงาน เวลาเมื่อเข้ามาในห้องทำงานจะเกิดความอยากสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • วิธีรักษาการติดบุหรี่
  1. การหักดิบ (cold turkey) วิธีนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบในทันทีโดยไม่ต้องมีการใช้ยา หรือความช่วยเหลือใดๆ โดยทั่วไปวิธีนี้อาการขาดนิโคตินจะหายไปได้เองภายในระยะเวลา ประมาณ 2-3 สัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเกิด readaptation ทำให้เกิด equilibrium ใหม่ได้โดยไม่ต้องมีนิโคติน
  2. ใช้ยาช่วย (pharmacological therapy) ในรายที่มีการติดทางร่างกายมากๆ การขาดนิโคตินอาจรุนแรงจนทำให้ผู้สูบบุหรี่เลิกล้มความตั้งใจที่จะเลิกสูบได้ การใช้ยาบางอย่างอาจช่วยให้การเลิกสูบบุหรี่ง่ายขึ้น ยาที่มีการนำมาใช้ช่วยอดบุหรี่ มีหลายกลุ่ม
    • กลุ่มทดแทน (Replacement therapy) เช่น nicotine
    • กลุ่มที่ช่วยลดอาการถอนยา (Reduction of withdrawal) เช่น bupropion, nortriptyline, clonidine, fluoxitine, doxepine, buspirone, lobeline เป็นต้น
ในฉบับนี้จะกล่าวถึงการใช้ Nicotine Replacement Therapy สำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ และในฉบับถัดไปจึงจะกล่าวถึงยากลุ่มอื่น โดยเฉพาะ Bupropion และ Nortriptyline การใช้ยาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์และประสิทธิภาพสูงในการเลิกสูบบุหรี่คือ การให้นิโคตินทดแทน ( Nicotine Replacement Therapy : NRT ) ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาดนิโคติน ในต่างประเทศมี NRT อยู่ 6 แบบคือ

  1. nicotine gum
  2. transdermal nicotine patch
  3. nicotine nasal spray
  4. nicotine inhaler
  5. nicotine lozenges
  6. nicotine sublingual tablets
แต่สำหรับในประเทศไทยมีใช้เพียง 2 แบบคือ
  1. nicotine gum (Nicorette®) และ nicotine patch (Nicotinell-TTS®) ซึ่งความแตกต่างของ nicotine ในแต่ละรูปแบบนั้นมีไม่มากนัก ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ในการเลือกใช้ว่าจะสะดวกกับวิธีใด ดังรายละเอียด
  2. หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน (Nicotine chewing gum) มีจำหน่าย 2 ขนาด คือ 2 มิลลิกรัม และ 4 มิลลิกรัม ส่วนประกอบที่สำคัญคือ Nicotine polacrilex ซึ่งเป็น Nicotine resin complex เวลาเคี้ยวจะค่อยๆปลดปล่อยนิโคตินออกมา
ขนาดที่ใช้
- สำหรับคนที่สูบ 1-24 มวน/วัน ใช้หมากฝรั่งขนาด 2 มก. โดยใช้ไม่เกิน 30 ชิ้นต่อวัน
- สูบมากกว่า 25 มวนต่อวัน ใช้หมากฝรั่งขนาด 4 มก. โดยใช้ไม่เกิน 15 ชิ้นต่อวัน

วิธีใช้ การเคี้ยวหมากฝรั่งนิโคตินแบบหมากฝรั่งทั่ว ๆ ไป จะทำให้นิโคตินถูกปล่อยออกมามากเกินไป ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มึนศีรษะ สะอึก คลื่นไส้อาเจียน ให้เคี้ยวหมากฝรั่งอย่างช้าๆ 3- 4 ครั้ง จนได้รสเฝื่อนของ nicotine แล้วอมหมากฝรั่งไว้ระหว่างกระพุ้งแก้มกับเหงือก รอจนรสเฝื่อนหายไปจึงเคี้ยวใหม่สลับกับการอม หมากฝรั่ง 1 ชิ้นจะใช้ได้นานประมาณ 30 นาที อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย เช่น เจ็บช่องปากและระคายเคืองบริเวณที่อมอาจแก้ไขได้โดยเปลี่ยนบริเวณที่อมหมากฝรั่งเพื่อลดการระคายเคือง , ปวดกราม, nicotine ในน้ำลายที่ถูกกลืนลงไปจะไม่ถูกดูดซึมและจะทำให้แสบคอและแสบท้อง ปวดแสบยอดอก,คลื่นไส้ ,เรอ,สะอึก และในผู้ป่วยบางรายไม่ชอบรสชาติของหมากฝรั่ง นอกจากนี้หมากฝรั่งนิโคตินยังไม่เหมาะสมกับผู้ที่ใส่ฟันปลอม

  • แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน (Nicotine patch) มีจำหน่าย 3 ขนาด คือขนาด 30, 20 และ 10 ตารางเซนติเมตร ขนาดที่ใช้
- บุคคลที่สูบน้อยกว่า 20มวนต่อวัน ใช้แผ่นปิดผิวหนัง ขนาด 20 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาด 10 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์
- บุคคลที่สูบมากกว่า 20มวนต่อวัน ใช้แผ่นปิดผิวหนังขนาด 30 cm2 1 ชิ้นเป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาด 20 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาด 10 cm2 1 ชิ้น เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์

วิธีใช้ ปิดแผ่นยาลงบนผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน เช่นตั้งแต่ต้นแขน คอจนถึงสะโพกที่ปิดแผ่นยาทุกวันโดยติดตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วไปมักแนะนำให้ติดแผ่นยาตอนเย็นหลังอาบน้ำ เมื่อจะอาบน้ำตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ต้องแกะ ออกเพราะแผ่นยานี้กันน้ำได้ แต่ควรระวังอย่าถูหรือฉีดน้ำแรงๆบริเวณแผ่นยาเท่านั้น หลังจากนั้นให้ติดแผ่นยาไว้ทั้งวันและแกะออกก่อนอาบน้ำตอนเย็น เมื่ออาบน้ำเสร็จให้ติดแผ่นใหม่โดยเปลี่ยนตำแหน่งที่จะติด เพื่อลดการระคายเคือง ควรรอประมาณ 1 สัปดาห์จึงกลับมาปิดซ้ำที่เดิม
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย เช่น ผิวหนังระคายเคือง (ผื่นคัน, ผื่นบวมแดงอักเสบ) , นอนไม่หลับและฝันร้าย จากการปฏิบัติงานในคนไข้จริง พบว่าทั้ง nicotine gum และ nicotine patch ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่ทั้งคู่มีข้อดีข้อเสียต่างกันเล็กน้อยคือ เราไม่สามารถเคี้ยว nicotine gum ขณะหลับ ได้ทำให้อาจเกิดอาการขาดนิโคตินในช่วงตื่นนอนได้ ในขณะที่ nicotine patch ไม่เกิดปัญหานี้แต่อาจ ทำให้นอนหลับไม่สนิทในบางรายได้ นอกจากนี้ความอยากสูบบุหรี่จะเกิดขึ้นมากไม่เท่ากัน ในแต่ละช่วงเวลา ผู้ที่ใช้ nicotine gum อาจไม่ใช้ยาเลยในบางช่วงเวลาได้

  • นิโคตินชนิดสูดพ่นทางปาก ( nicotine inhalation ) นิโคตินในรูปแบบนี้
จะใช้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกมีลักษณะเป็น
กล้องพลาสติกคล้ายกับมวนบุหรี่ใช้สำหรับสูด และส่วนที่สองเป็นกระบอก
สำหรับบรรจุผงนิโคติน
ขนาดที่ใช้
  1. กระบอกที่บรรจุนิโคตินสามารถใช้ได้นานถึง 20 นาทีสำหรับการสูดติดต่อกัน โดยที่ในการสูดแต่ละกระบอกจะได้นิโคตินประมาณ 4 มิลลิกรัม แต่จะมีแค่ 2 มิลลิกรัมเท่านั้นที่ถูกดูดซึม nicotine inhaler ใช้ได้ประมาณ 6-12 กระบอกต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์และค่อย ๆ ลดจำนวนลงใน 4 สัปดาห์ที่เหลือ ขนาดสูงสุดที่แนะนำให้ใช้ต่อวันคือ 16 กระบอก
วิธีใช้
• เมื่อรู้สึกมีความต้องการอยากสูบบุหรี่ ให้คีบกระบอกพลาสติกที่บรรจุนิโคตินเรียบร้อยแล้ว ในลักษณะเดียวกันกับการคีบมวนบุหรี่ แต่ถึงแม้ว่ารูปร่างลักษณะจะคล้ายคลึงกับมวนบุหรี่ เมื่อเวลาสูดเข้าไปแล้ว นิโคตินจะถูกดูดซึมอยู่แค่บริเวณปาก และคอเท่านั้นไม่ได้ลงไปลึกถึงปอดเหมือนกับการสูบบุหรี่ และการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะน้อยกว่า
• คาบและสูดผงนิโคตินเข้าทางปาก คล้ายกับการสูบบุหรี่ โดยที่ 1 กระบอกจะสามารถสูดแบบตื้น ๆ ได้ประมาณ 300 ครั้งและสูดแบบลึก ๆ ได้ประมาณ 80 ครั้ง
• เติมกระบอกที่บรรจุนิโคตินแทนที่กระบอกเดิมหลังจากการสูด 20 นาที
• นำกระบอกบรรจุนิโคตินที่ใช้แล้วไปทิ้งด้วยความระมัดระวัง เพราะนิโคตินที่ติดค้างอยู่ในกระบอกอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยงได้
• ล้างแท่งพลาสติกโดยเฉพาะบริเวณที่ปากสัมผัสด้วยน้ำอุ่นและสบู่
ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
เกิดการระคายเคืองบริเวณริมฝีปากที่สัมผัสกับแท่งพลาสติก และมีอาการไอบ้างเป็นบางครั้ง
Nicotine inhalers เหมาะสำหรับบุคคลที่มีการติดบุหรี่ทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เคยชินกับการคีบมวนบุหรี่ไว้ที่มือ คาบมวนบุหรี่ หรือมีอุปนิสัยชอบดึงบุหรี่ออกจากซองบริเวณกระเป๋าเสื้อ เนื่องจากการใช้นิโคตินในรูปแบบนี้ จะมีกระบวนการขั้นตอนวิธีการใช้ที่คล้ายคลึงกับการสูบบุหรี่มากกว่าวิธีอื่น ๆ
  • นิโคตินชนิดสเปรย์พ่นจมูก (nicotine nasal spray)
ลักษณะคล้ายคลึงกับ nasal decongestant spray ผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่มาด้วยวิธีอื่นหลาย ๆ ครั้งแต่ไม่ได้ผล อาจจะเลิกได้ด้วยวิธีนี้ ขนาดที่ใช้
การพ่นสเปรย์ 1 ครั้ง จะได้ปริมาณของนิโคตินประมาณ 1 มิลลิกรัม
ธีใช้ ให้พ่นสเปรย์ 1-2 ครั้งต่อชั่วโมง และไม่เกิน 8-10 ครั้งต่อวัน ควรใช้ติดต่อกันประมาณ 8 สัปดาห์ โดยที่ค่อย ๆ ลดขนาดลงหลัง จากการใช้ 6 สัปดาห์ การใช้ในรูปแบบนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์

วิธีใช้
นิโคตินสเปรย์มีลักษณะการใช้คล้ายคลึงกับ decongestant spray โดย ที่การสเปรย์นั้นให้พ่นบริเวณจมูกส่วนล่าง ไม่ต้องสอดเข้าไปลึกถึงข้างใน โพรงจมูก ดังรูป นอกจากนี้ยังห้ามกลืน และขยี้จมูกหลังการพ่น และจากการศึกษาพบว่าการใช้นิโคตินในรูปแบบสเปรย์สามารถทำให้ติดได้ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
อาการข้างเคียงที่พบ เช่น การระคายเคืองจมูกและคอ ไอ และ ทำให้น้ำตาไหล นอกจากนี้รูปแบบนี้ยังทำให้เกิดการจามหลังจากการใช้ด้วย นิโคตินในรูปแบบนี้จะไม่เหมือนรูปแบบแผ่นแปะ หมากฝรั่งนิโคติน หรือรูปแบบอื่น ๆ เนื่องจากนิโคตินจะสามารถดูดซึมและทำให้ระดับของนิโคตินในกระแสเลือดใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ว่ามักนิยมใช้ในบุคคลที่มีอาการอยากนิโคตินอย่างรุนแรง
  • ลูกอมนิโคติน (Nicotine lozenge)
ลักษณะคล้ายคลึงกับลูกอมโดยทั่วไป มีจำหน่ายในรูปแบบเม็ดละ 2 มิลลิกรัมและ 4 มิลลิกรัม ขนาดที่ใช้ สำหรับอมครั้งละ 1 เม็ด โดยที่ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน

วิธีใช้ อมลูกอมไว้ในปาก นิโคตินจะค่อย ๆ ถูกละลายออกมาช้า ๆ ลูกอมหนึ่งเม็ดจะอยู่ได้ประมาณ 20-30 นาที โดยที่ห้ามกัดหรือเคี้ยวลูกอมเนื่องจากจะทำให้นิโคตินออกมาในปริมาณที่มากเกินไปและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้ยังห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 15 นาทีก่อนการอมลูกอมหรือระหว่างอมลูกอม
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
อาการที่พบบ่อยคือ ปวดบริเวณเหงือกและฟัน อาหารไม่ย่อยและรู้สึกแสบบริเวณหน้าอก จากการศึกษาพบว่าการใช้นิโคตินในรูปแบบลูกอม จะมีประสิทธิผลไม่ดีเท่ากับการให้ในรูปแบบหมากฝรั่ง แต่พบว่าสามารถนำมาใช้ได้ดีในบุคคลที่มีปัญหาไม่สามารถเคี้ยวหมากฝรั่งนิโคตินได้ และรูปแบบนี้ยังเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างปลอดภัยอีกด้วย
  • นิโคตินชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น (nicotine sublingual tablets)
มีลักษณะเป็นเม็ด 1 เม็ดประกอบด้วยนิโคติน 2 มิลลิกรัม
ขนาดที่ใช้
- บุคคลที่สูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวันให้ใช้ยาเม็ดอมใต้ลิ้น 1 เม็ดต่อชั่วโมง (8-12 เม็ดต่อวัน)
- บุคคลที่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 20 มวน ให้ใช้ยาเม็ดอมใต้ลิ้น 2 เม็ดต่อชั่วโมง (16-24 เม็ดต่อวัน)
ควรใช้ยาเม็ดอมใต้ลิ้นติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน หลังจากนั้นจึงค่อยลดขนาดลง แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 ปี

วิธีใช้ วางเม็ดอมไว้บริเวณใต้ลิ้น จากนั้นนิโคตินจะค่อย ๆ ถูกปลดปล่อยอกมาอย่างช้า ๆ ไม่ควรกลืน ดูด หรือเคี้ยวเม็ดยา
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้เช่น การระคายเคืองปาก ไอ อาการสะอึก และอาการวิงเวียนมึนงง ในบางรายพบว่าไม่ชอบรสชาติของเม็ดยา
จากข้อความกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการให้ยานิโคตินทดแทนมีข้อดี คือ
  1. สามารถบรรเทาหรือระงับหรือป้องกันอาการถอนนิโคตินทำให้เกิดความทรมานน้อยกว่าการเลิกสูบบุหรี่โดยอาศัยกำลังใจเพียงอย่างเดียว (หักดิบ)
  2. การใช้ NRT ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่
  3. NRT จะให้นิโคตินในระดับต่ำๆแก่ร่างกายทำให้การเปลี่ยนแปลงระดับนิโคตินในเลือดไม่แปรผันมากเท่ากับการสูบบุหรี่ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงความพอใจหรือความสุขซึ่งจะช่วยลดภาวะเสพติดทางจิตใจ
ข้อบ่งใช้สำหรับนิโคตินทดแทน
ใช้ในการบรรเทาหรือระงับหรือป้องกันอาการถอนนิโคตินที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยลดความทรมานทางกายและสามารถทุ่มเทกำลังใจในการต่อสู้กับการเสพติดทางจิตใจหรือเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเต็มที่
ข้อห้ามใช้สำหรับนิโคตินทดแทน
1. ห้ามสูบบุหรี่หรือใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีนิโคตินเป็นส่วนประกอบเพราะอาจทำให้เกิดพิษได้
2. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบอื่นๆในตำรับ
3. ห้ามใช้ยานิโคตินทดแทนในหญิงมีครรภ์
4. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดเค้นอกอย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายภายใน 2 สัปดาห์
การป้องกันการกลับไปสูบใหม่ (relapse prevention)
การป้องกันการกลับไปสูบใหม่เป็นปัญหาที่ยากที่สุดในการพยายามเลิกสูบบุหรี่ ในปัจจุบันยังไม่มวิธีการที่ได้ผลแน่นอน สิ่งที่ช่วยในการป้องกันการกลับไปสูบใหม่คือการนัดติดตามผลการรักษาต่อไป การเน้นการหยุดอย่างเด็ดขาด (total abstinence) และการแนะนำให้ผู้พยายามเลิกสูบบุหรี่ปฏิบัติตัวตามหลักการต่อสู้กับการติดทางจิตใจต่อไป

ข้อปฏิบัติหากต้องการเริ่มใช้ NRT
1. ปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์หรือ stop smoking clinic เพื่อขอรับคำแนะนำและปรึกษา
2. เลือกใช้รูปแบบของ NRT ที่เหมาะสมกับตัวเอง
3. กำหนดวันเริ่มต้นหยุดบุหรี่อย่างแท้จริงและเริ่มใช้ NRT
4. ห้ามสูบบุหรี่ในเวลาที่ใช้ NRT
5. ผู้เชี่ยวชาญบางท่านอาจจะใช้รูปแบบของ NRT ที่ผสมผสานกันในผู้ป่วยบางราย เช่น การใช้หมากฝรั่งนิโคตินร่วมกับแผ่นแปะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

เลิกบุหรี่อย่างไร ไม่ให้อ้วน

  • อย่าลดน้ำหนักพร้อมกับอดบุหรี่ เพราะจะล้มเหลวทั้งสองอย่าง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มง่ายควรเริ่มออกกำลังกายพร้อมกับลดปริมาณอาหารก่อน งดบุหรี่ในระยะเริ่มต้น เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่ายกาย แล้วจึงค่อยๆลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง อีกวิธีหนึ่งคือวางแผนเลิกบุหรี่ก่อน แม้น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ก็รอลดได้ทีหลัง รออย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือ 1เดือนขึ้นไปเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายถอนนิโคตินหมดไปแล้ว โดยวางแผนการเลิกบุหรี่ล่วงหน้า ไม่ควรเลิกในช่วงที่มีเทศกาลการกินหรือช่วงที่เครียดมาก เพราะจะทำให้ควบคุมน้ำหนักไม่ได้ผล

  • กินอาหารเป็นเวลา และ ไม่งดมื้ออาหาร คนสูบบุหรี่ส่วนใหญ่มักสูบบุหรี่ในช่วงเช้า จึงงดอาหารเช้า กินมื้อเที่ยงเล็กน้อย แต่กินมื้อเย็นหนักมาก ข้อแนะนำสำหรับการเลิกบุหรี่คือควรกินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นเช้า และงดกินอาหาร 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

  • เลี่ยงอาหารไขมันและน้ำตาลสูง ช่วง ที่เพิ่งงดบุหรี่ คนสูบบุหรี่ส่วนใหญ่(แต่ไม่ทุกคน) มักกินอาหารไขมันสูงและน้ำตาลเพิ่มขึ้น และอยากกินของหวานมากขึ้น แต่หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ร่างกายจึงจะคืนสู่นิสัยการกินเดิม กรณีที่ไม่สามารถควบคุมความหิวได้ ให้เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวโพดคั่วไม่ใส่เนย แตงกวา หรือ แครอท ซึ่งช่วยแก้ปัญหาท้องผูกอันเป็นผลข้างเคียงเมื่อเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อเร่งการขับนิโคตินออกจากร่างกายเร็วขึ้น

  • งดเครื่องดื่มคาเฟอีน ช่วงที่ร่างกายถอนนิโคตินจะทำให้หงุดหงิดกระวนกระวาย คาเฟอีนจะทำให้อาการเหล่านั้นแย่ลง

  • อย่าใช้เวลาในมื้ออาหารนาน เมื่อ เลิกบุหรี่แล้วจะทำให้กินมากขึ้น เพราะพยายามหาสิ่งอื่นมาชดเชยแทนการสูบบุหรี่ สิ่งแรกที่มักจะทำคือกินเพิ่มขึ้น แม้ไม่หิวก็ตาม ฉะนั้นอย่าใช้เวลาที่โต๊ะอาหารหรืออยู่ใกล้อาหารนานๆ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด (มากกว่า 1 ซองต่อวัน) น้ำหนักตัวอาจขึ้นเร็วกว่าและหิวบ่อยกว่าผู้ที่สูบน้อยกว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีนิโคตินผสมอาจช่วยป้องกันน้ำหนักตัวเพิ่มได้

  • นอนหลับพักผ่อนให้พอ เพราะ เวลาเหนื่อยและง่วงจะทำให้เกิดความอยากบุหรี่และอาหาร ข่มใจเมื่ออยากบุหรี่ ความรู้สึกอยากจะหมดไปเองภายในเวลา 5 นาที ฝึกผ่อนอารมณ์และหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วผ่อนลมหายใจออก ควรหากิจกรรมทำเพื่อหันเหความสนใจของตนเองจากความต้องการบุหรี่และอาหาร

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การ ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 30-40 นาที 5-7 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ เพราะการออกกำลังกายป้องกันการลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน ช่วยคลายเครียด ทำให้ร่างกายหลั่งเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นยากล่อมประสาทตามธรรมชาติออกมา และได้หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ปอดมากขึ้น

ประโยชน์ทันทีจากการเลิกบุหรี่ คือ ความดันโลหิตลดลง ระบบหายใจและการรับรสดีขึ้น ควรวางแผนงดบุหรี่ล่วงหน้าเพื่อพิชิตความอ้วนที่อาจมาเยือน และอย่าตกใจมากเกินไปกับน้ำหนักที่เพิ่มเล็กน้อย หากปรับพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย คุณจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ แถมยังได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมาด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

นิโคตินทดแทน(หมากฝรั่ง แผ่นปะ)ช่วยเลิกบุหรี่ได้ผล

อาจารย์พอล เอฟยาร์ด และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม อังกฤษ ทำการทบทวนผลการศึกษา 7 รายงาน รวมกลุ่มตัวอย่างเกือบ 3,000 คน
ผล การศึกษาพบว่า การใช้นิโคตินทดแทน เช่น หมากฝรั่ง แผ่นปะ ฯลฯ ช่วยเพิ่มโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จที่ 6 เดือน 6.75% หรือประมาณ 2 เท่าของยาหลอก (ยาที่ทำให้เหมือนยาจริง แต่ไม่มีเนื้อยา)
...
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนที่เลิกบุหรี่ได้ต่อเนื่อง 6 เดือนมีโอกาสจะเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิตประมาณครึ่งหนึ่ง
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของโรคภัยไข้เจ็บ และทำให้คนทั่วโลกตายก่อนวัยอันควร
...
สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ใช้เงินภาษีของคนกลุ่มใหญ่มารักษาคนกลุ่มน้อย (คนสูบบุหรี่) ปีละ 1.4-1.7 พันล้านปอนด์ (84,000-102,000 ล้านบาท เฉลี่ย 93,000 ล้านบาท / คิดที่ 60 บาทต่อปอนด์)
ข่าวดี คือ คนสุบบุหรี่ที่นั่นครึ่งหนึ่งพยายามเลิกสูบทุกปี แต่ประสบความสำเร็จเพียง 2-3% เฉลี่ยแล้วคนสูบบุหรี่แต่ละคนจะพยายามเลิกบุหรี่ประมาณ 6-11 ครั้ง
...
การใช้นิโคติน ทดแทน เช่น หมากฝรั่ง แผ่นปะ ฯลฯ หรือยาเลิกบุหรี่มีส่วนช่วยให้เลิกบุหรี่สำเร็จได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนทุกฝ่ายได้ประโยชน์ในระยะยาว
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

สาระ ล่ำซำ เลิกบุหรี่เพราะ...ผ้าเหลือง

สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด และนายกสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นทายาทรุ่นที่ ๓ ของตระกูล “ล่ำซำ” และถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีบทบาทสูงมากในเมืองไทยประกันชีวิต

ตั้งแต่ที่เขาได้เริ่มเข้ามาทำงาน เมื่อปี ๒๕๓๖ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการ Re-Engineering องค์กรเมืองไทยประกันชีวิตครั้งใหญ่ เมื่อปี ๒๕๔๐ โดยการนำนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในธุรกิจประกันชีวิต

แม้ว่าจะเป็นนักเรียนนอก มีแนวความคิดในการบริหารจัดการธุรกิจแบบตะวันตก แต่ปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่นายสาระยังยึดปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี ไทยอย่างเหนียวแน่น เหมือนชายไทยคนอื่นๆ คือ การบวชเพื่อทดแทนคุณ พ่อแม่

เพราะเมื่อบวชเข้าไปแล้ว ต้องรู้จักรักษา กฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ชีวิตเยี่ยงพระหรือนักบวช ต้องเรียนรู้หลักธรรมของพุทธศาสนา ต้องเรียนและฝึกการประพฤติตนในทางที่ชอบ ต้องฝึกระงับตนไม่ให้เดินไปในทางที่ผิด ทั้งทางกาย วาจา รวมทั้งใจ ซึ่งเป็นวิธีการฝึกคนให้เป็นคนดีนั่นเอง และเป็นสิ่งที่เขาภูมิใจซึ่งเป็นผลจากการบวช คือ สามารถเลิกบุหรี่ลงได้อย่างเด็ดขาด

นายสาระ เล่าว่า สมัยเรียนจบมาใหม่ๆ แม่ก็อยากให้บวชในฐานะที่เป็นลูกผู้ชาย โดยใช้ระยะเวลาในการบวชเพียง ๑๕ วัน เท่านั้น

ตรงนี้ขอพูดอย่างไม่อายว่า สวดมนต์อะไรก็ยังไม่ได้สักอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ดีใจและภูมิใจอย่างมากคือ สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะสมัยเป็นนักศึกษา สูบบุหรี่วันละ ๒ ซอง และวันหนึ่งเรามาบวชเป็นพระ กลับเลิกได้ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อเลย

สาเหตุที่เลิกบุหรี่ได้ เกิดจากท่านเจ้าคุณวัดธาตุทองสมัยนั้น ให้ข้อคิดหลักธรรมบางอย่าง จนทำให้เลิกบุหรี่ลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ จากวันที่เลิกบุหรี่มาถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า ๑๕ ปีแล้ว ซึ่งตามความจริงไม่ได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง ถามว่ามาสนใจธรรมะนั้น เนื่องจากธุรกิจประกันภัยหรือธุรกิจประกันชีวิตแข่งขันกันค่อนข้างสูง ประกอบกับอยากให้ธุรกิจประกันชีวิตของเมืองไทยประกันชีวิตเติบโต

แต่พอเดินทางกลับถึงบ้าน สำรวจพบว่า จิตใจเราก็เกิดอาการอ่อนล้า ตรงจุดนี้จึงนำตัวเองหันหน้าเข้าหาธรรม บางครั้งก็ได้สนทนาธรรมกับพระอาจารย์หลายๆ รูปที่รู้จักก็จะสบายใจ

"หลายสิ่งหลายอย่างที่มีความรู้สึกไม่สบายใจ ก็จะเล่าให้พระอาจารย์ท่านฟัง แล้วท่านก็จะให้ข้อคิดทางธรรมกลับมาให้เรา เพื่อจะได้นำกลับมาคิดในการทำงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผมมีความเชื่อว่าทำดียังไงเราก็ต้องได้ดี แต่ไม่ใช่ว่าเราต้องไปหวังอะไรมาก ผมบอกตรงๆ ว่าสิ่งที่ผมได้ช่วยใครไปใจผมก็มีความสุข หรือถ้าวันไหนไปทำให้ใครเดือดร้อน ผมจะมีความรู้สึกไม่สบายใจมาก ฉะนั้น ดีที่สุดเราอย่าไปเบียดเบียนใครก็พอ และความสุขก็จะเกิดขึ้นกับจิตใจ" นี่เป็นความสุขที่เห็นสัจธรรมชีวิต

สำหรับพระเครื่องที่นายกสมาคมประกันชีวิตไทย แขวนติดตัวประจำ ได้แก่ พระทุ่งเศรษฐี พิมพ์กำแพงเขย่ง เป็นองค์พระที่คุณยายให้เอาไว้ก่อนที่จะเดินทาง ไปเรียนยังประเทศสหรัฐ อเมริกา ส่วนอีกสององค์จะได้มาจากผู้ใหญ่ คือ พระรอด ลำพูน พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ถือเป็นพระที่เก่าแก่มาก และยังมีเครื่องรางบางอย่างที่คุณแม่ได้ให้เก็บไว้ติดตัว

ส่วนความเชื่อในเรื่องของพุทธคุณขององค์พระนั้น สาระ บอกว่า มีความเชื่อว่า คนเราที่เรียกกันว่ามีบุญกรรมในชาติที่แล้ว หรือชาติไหนก็ตาม เคยทำอะไรไว้หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วประมาณ ๓๓ เปอร์เซ็นต์ อีก ๓๓ เปอร์เซ็นต์จากร้อยก็จะเป็นเรื่องของการทำบุญทำทาน และอีก ๓๓ เปอร์เซ็นต์ที่เหลือตรงนี้คงมาจากการกระทำของเรา ทำให้มีความเชื่อเกี่ยวกับพระเครื่องว่าเป็นที่พึ่งทางจิตใจ

บางครั้งทำงานเหนื่อยอ่อนล้า กลับมาจะมานั่งสมาธิ ด้วยการจับพระเครื่องที่แขวนติดตัว พร้อมกับสวดมนต์ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ทำให้จิตใจเรานิ่งสงบ มีสมาธิ เมื่อจิตเรานิ่งก็สามารถที่จะคิดทำอะไรได้อย่างรอบครอบ

ตรงนี้ก็คงเป็นหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่เหลือจากร้อยนั่นเอง ยิ่งทุกวันนี้มีอาการปวดหัวแบบ ไมเกรน พอนั่งสมาธิเพียงสามหรือห้านาทีในห้องพระ นั่งนับลมหายใจ ก็รู้สึกว่าจิตใจสงบ อาการที่ว่ามันก็บรรเทาลงเหมือนมีพลังบางอย่าง

"เขาบอกว่าคนเราทำบุญทำทาน ผมพยายามทำความเข้าใจว่าบุญคืออะไร เมื่อก่อนจะทำทานน้อยมาก เขาบอกว่าไม่ว่าเราจะเดินเจอใคร ให้ไปแล้วอย่าไปคิดว่าเขาไปเอาไปทำอะไร ซึ่งผมเคยคิดว่า ถ้าบางคนแกล้งไม่สบายเพื่อมาขอทานได้เงินพอเราให้ไปเราก็ รู้สึกไม่ดี แต่มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งท่านเทศน์ว่า จริงๆ แล้วทำทาน เราให้ไปแล้วเขาจะเอาไปทำอะไรก็ช่างเขา ถ้าเราเอากลับมาคิดก็จะเป็นอกุศลทันที พอได้ทำตามพระอาจารย์ให้ทานแบบไม่ต้องคิดมันก็สบายใจ" นายสาระ กล่างทิ้งท้าย

แหล่งที่มาข้อมูล http://www.amulet.in.th/

การลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ตามแนวทางศาสนาในสาขาจิตเวช

ศาสนา เป็นทั้งศิลปะ เป็นทั้งศาสตร์ หรือความรู้ ที่ครอบคลุมในสาขาวิชาความรู้ด้านต่างๆ ผู้ศรัทธาในศาสนา ควรได้ศึกษาความรู้ในสาขาวิชาต่างๆไว้บ้าง เพราะความรู้ในสาขาวิชาต่างๆที่มีอยู่ล้วนสามารถใช้เป็นญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนาได้ทุกสาขาวิชา

สำหรับผู้ศรัทธา ในศาสนาพุทธ ก็ควรได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางศาสนาให้แม่นมั่น ไม่ใช่คิดว่าผู้อื่นทำผิดศีลธรรม แล้วตัวเองไปคัดค้านโดย การคัดค้านนั้นกลับกลายเป็นการเบียดเบียนหรือทำลาย ทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ที่กล่าวไปนี้เป็นเพียงเตือนสติคนบางคน บางท่าน ที่อ้างตัวเอาหลักการทางศาสนาขึ้นมาบังหน้า แล้วก็คัดค้านเดินขบวนโดยไม่นึกถึงความเดือดร้อน ลำบากของบุคคลอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ยกตัวอย่าง การเดินขบวนคัดค้านการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทผลิตเบียร์ บุคคลที่เดินขบวนเพื่อคัดค้านการเข้าตลาดหลักทรัพย์เหล่านั้น กระทำตัวเสมือนหนึ่งเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด แต่แท้จริงแล้วพวกเขากำลังเบียดเบียนผู้อื่น กำลังกระทำให้ชีวิตหลายร้อยชีวิตจะต้องตกระกำลำบาก หากทางบริษัทเลิกจ้าง เป็นการกระทำที่ปลายเหตุ เพราะคิดไปว่า ถ้าไม่มีโฆษณา หรือ ไม่ให้ สินค้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คนไทยจะเลิกการดื่มสินค้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งในทางที่เป็นความจริงแล้ว การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้น มีอยู่ในสังคมไทยมานานหลายร้อยปีโดยเฉพาะระดับรากหญ้า เขาดื่มกันเพราะเพื่อทำให้เลือดลมเดินสะดวก หายปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก (แม้จะเป็นเพียงความคิดที่สืบทอดกันมา) ดังนั้นในสังคมชนบท จึงได้มีการต้มเหล้าหรือกลั่นสุรากันเองเพื่อเอาไว้ดื่ม อย่างนี้เป็นต้น และที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ก็คือสาเหตุแห่ง บทความ การลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ตามแนวทางศาสนาในสาขา จิตเวช

ผู้ที่เสพ บุหรี่ และดื่มเหล้า หากจะกล่าวไปแล้ว นับได้ว่า เป็นอาการที่เกิด

ทางจิต หรือเกี่ยวข้องกับจิต เพราะจะเกิดความคิดขึ้นเองขณะมีความอยากบุหรี่หรืออยากดื่มสุรา ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนี้ข้าพเจ้าประสบมาด้วยตัวเอง เพราะข้าพเจ้าเองก็เป็นนักดื่มสุรา และสูบบุหรี่จัด คือดื่มสุราวันละครึ่งขวดใหญ่ สูบบุหรี่วันละ 2 ซองเป็นอย่างต่ำ และได้เลิก บุหรี่ สุราไปแล้ว 8 ปี จึงได้รู้ว่า ผู้ที่สูบหรี่ และดื่มสุรานั้น เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง

การลด ละ เลิก สุรานั้น ทำได้ง่ายกว่า บุหรี่ เพราะบุคคลส่วนใหญ่จะดื่มสุราเฉพาะตอนเย็น เลิกงานแล้ว หรือดื่มสังสรรค์กัน ไม่เหมือนบุหรี่ ที่เลิกยากกว่า เพราะคนส่วนใหญ่มักสูบหรี่ เกือบทุกชั่วโมง จึงเลิกบุหรี่ได้ยากกว่าสุรา

ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะ ลด ละ เลิก สุรา ในตอนนี้จะนำเสนอการ ลด ละ เลิกสุราเป็นอันดับแรก เพราะสุรา ลด ละเลิกได้ ง่ายกว่า ซึ่งท่านทั้งหลายที่ติดสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ก็ควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมองหรือความจำ หรือประสาทของเรา เพื่อเป็นแนวทางในการ ลด ละ เลิกสุรา เพราะการที่เราดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม เกิดจาก ข้อมูลความจำ เกี่ยวกับผลดีของสุราถูกเก็บไว้ในสมอง ทำให้เกิดเป็นกลไกอัตโนมัติ ไปขับประสาทส่วนต่างๆ ทำให้เกิดความอยากเมื่อถึงเวลา หรือเมื่อเห็นหรือกระทบสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ทางจิตใจ ก็จะเกิดความต้องการดื่ม ข้อมูลความจำในผลดีแห่งการดื่มสุรานั้น เกิดจากการที่เรา ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น และได้ลองดื่ม จากการดื่มเป็นบางครั้ง จนกระทั่ง กลายเป็นการดื่มอยู่เป็นนิจ การที่บุคคลใดใด จะลด ละ เลิก สุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ได้นั้น ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลความจำที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นๆ หากข้อมูลความจำในผลดีแห่งการดื่มสุราฯถูกลบไป ก็จักสามารถลด ละ เลิก สุราฯได้อย่างถาวร

แล้วทำอย่างไรจึงจะลบข้อมูลเกี่ยวกับดื่มสุราในตัวเราให้หมดไป เราจะลบข้อมูลเหล่านั้นได้ ก็โดยการบรรจุข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่า การบรรจุข้อมูลใหม่เข้าไป ก็ต้องใช้วิธีท่องจำอยู่เป็นนิจ ทุกครั้ง ทุกเวลาที่เกิดอาการอยากดื่ม และต้องมีสิ่งประกอบ หรือตัวช่วยในการลด ละเลิก คือต้องหา

สิ่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มาทดแทน เช่น น้ำดื่มสะอาด นม โอวัลติน ไมโล หรือ ขนมขบเคี้ยวต่างๆทั้งที่มีราคาถูก หรือมีราคาสูง อันนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจและฐานะทางครอบครัวของแต่ละบุคคล เมื่อเกิดอาการอยากหรือเกิดความคิดที่ต้องการจะดื่ม ก็ให้ท่องจำหรือจะเรียกว่าใช้ความคิด คือท่องจำอยู่ในใจว่าไม่ใช่อยากดื่มสุรา แต่อยากดื่มน้ำ หรืออยากกินขนม ท่องอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตคิดอยากจะดื่ม หรือท่องจำว่า เหม็น เสียสุขภาพ อยากดื่มโอวัลติน ไมโล เมื่อกระทำอยู่อย่างที่ผู้เขียนได้แนะนำไปแล้วนั้น ย่อมสามารถลด ละเลิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะไม่หวนกลับไปดื่มอีกเลย เพราะข้อมูลในเรื่องการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะถูกลบจากสมอง แต่จะมีข้อมูลใหม่คือดื่มน้ำ กินขนม ดื่มเครื่องบำรุงร่างกาย สุราเหม็นเสียสุขภาพ ไม่มีประโยชน์ บรรจุเข้าไว้ในสมองแทนทำให้สามารถลด ละ เลิกได้ ระยะเวลาสั้นที่สุดในการใช้วิธีนี้ เพียง 1 สัปดาห์ หรือ 7 วัน ก็จะสามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาด แต่จะมีอาการอยากดื่ม เมื่อได้รับการกระทบ หรือประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ แต่เราก็สามารถแก้ไขได้ โดยวิธีการท่องจำหรือใส่ข้อมูลตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

วิธีการ ลด ละเลิก สุรา หรือเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ตามหลักการศาสนาในสาขาจิตเวชนี้ จำเป็นต้องอาศัยความต้องการที่จะเลิกของตัวบุคคลนั้นๆเป็นเกณฑ์ หากบุคคลนั้นๆต้องการลด ละเลิก สุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แล้วละก้อ ย่อมสามารถใช้อย่างได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะวิธีการลด ละเลิก ตามหลักการทางศาสนาในสาขาจิตเวชนี้ จะมองผู้ที่ดื่มสุรา หรือติดเหล้าติดสุรา ติดบุหรี่ ในแง่ของความต้องการทางจิต เป็นอาการทางจิต อันสืบเนื่องมาจากข้อมูลความจำ ที่ได้รับการสั่งสมมาจากประสบการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ได้ยิน ได้เห็น ได้ทดลอง ซึ่งตัวผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้า และวิจัย และสามารถใช้วิธีการดังกล่าว ลด ละเลิก สุรา และบุหรี่ อย่างได้ผลเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับผู้ที่ต้องการลด ละเลิก อย่างจริงจังแล้ว อาจจะ

เสริมวิธีการอื่นๆเข้าไป อีกเช่น ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์เช่นอ่านหนังสือหาความรู้ หรือ เมื่อเกิดความอยากมากๆ ก็อาบน้ำ หาอะไรทำเพลินๆ เพราะเรื่องของจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ขนาดแค่เห็นอาหารที่สามารถเป็นกับแกล้มได้ ยังเกิดอาการอยากดื่ม อย่างนี้เป็นต้น

ส่วนการลด ละเลิก บุหรี่นั้น ก็มีสาเหตุการติดหรือสาเหตุการเสพ คล้ายการดื่มสุรา คือเกิดจากการได้รับประสบการ การได้ยิน ได้เห็น ได้ทดลองสูบ จนกลายเป็นความคิด ความเข้าใจ กลายเป็นข้อมูลที่ฝังอยู่ในสมองแล้วไปกระตุ้นประสาท ส่วนต่างๆให้เกิดความ อยากสูบบุหรี่ แต่การสูบหรือเสพบุหรี่นั้น จะถี่กว่าการดื่มสุรา เช่น ดีใจสักนิด อารมณ์ดีสักหน่อย คิดไม่ออก คิดออก หลังอาหาร ขณะดื่มสุราหรือของดื่มมึนเมา ก็มักจะสูบบุหรี่ ตัวผู้เขียนเองเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 14-15 ปี ตามเพื่อน ตามที่ได้เห็นผู้ใหญ่เขาสูบ เกิดความคิดว่าเท่ ขณะสูบบุหรี่จะทำให้ตัวเองเป็นจุดสนใจ อะไรทำนองนี้ สูบบุหรี่ประมาณ 30 ปี จึงตัดสินใจเลิก เพราะสูบจัดมาก วันละ 2 ซองเป็นอย่างน้อย การเลิกของบุหรี่ของผู้เขียน ก็เลิกหลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้า วิชชา ทางศาสนา และได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านจิตมาบ้างพอสมควร ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่า การที่คนเราเสพบุหรี่ และเลิกมันไม่ได้นั้น เกิดจากข้อมูลที่ถูกจดจำอยู่ในสมอง แล้วแปลงเป็นกระแสคลื่นไหลเข้าสู่ระบบประสาทส่วนต่างๆ ทำให้เกิดอาการอยากสูบเมื่อได้กระทบหรือสัมผัสกับสภาพการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงใช้หลักการทางศาสนาอันเป็นสาขาจิตเวช ลด ละเลิก บุหรี่ ผู้เขียนใช้เวลา 1 เดือนในการเลิกสูบ โดยใช้หลักการความคิดคัดค้านความคิด หรือจะเรียกว่า ใช้ข้อมูลใหม่ลบข้อมูลเก่า และใช้เมล็ดทานตะวัน ประกอบการบรรจุข้อมูลใหม่ คือเมื่อเกิดอาการอยากสูบ ก็จะท่องในใจว่าอยากกินเมล็ดทานตะวัน และก็จะกินเมล็ดทานตะวัน และก็จะท่องอีกว่า บุหรี่เหม็น ทำให้ผู้อื่นเหม็นตามด้วย ถ้าอยู่ในบ้าน ก็จะท่องจำและกินเมล็ดทานตะวัน อาบน้ำ อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกาย ควบคู่กันไปด้วย หลังอาหาร จะเกิดความอยากสูบบุหรี่

มากที่สุด ก็จะท่องและกินเมล็ดทานตะวัน หากอยู่นอกบ้าน เห็นผู้อื่นสูบเราก็จะเกิดความอยากสูบตาม ก็จะท่อง หรือเมื่ออยู่ใกล้กับคนสูบบุหรี่ก็จะท่องว่ามันเหม็น ซึ่งจริงๆแล้วก็เหม็นจริงๆ หากเลิกสูบได้แล้วก็จะรู้ว่าผู้ที่สูบบุหรี่นั้น มีกลิ่นเหม็นของบุหรี่ออกตามตัวด้วย แม้จะหยุดสูบไปแล้วก็ตาม ส่วนการกินเมล็ดทานตะวันนั้น มีข้อเสีย คือทำให้น้ำหนักขึ้น 1 เดือน น้ำหนักขึ้น 11 กิโลกรัม ท่านที่ต้องการลด ละเลิก บุหรี่ อาจจะใช้การกินขนมขบเคี้ยวอย่างอื่น อันนี้ก็แล้วแต่สภาพทางเศรษฐกิจ หรือฐานะทางครอบครัว อาจต้องคำนึงถึงการพกพาไว้ติดตัวตลอด เรียกว่าพก ของขบเคี้ยวแทนบุหรี่ และข้อสำคัญต้องท่องจำหรือใส่ข้อมูลว่า ไม่ใช่อยากสูบบุหรี่ แต่อยากกินของขบเคี้ยวที่เรามีอยู่ ต้องท่องจำถึงผลเสียของบุหรี่อย่างสั้นๆ พอนึกอยากก็ต้องท่องว่าอยากกินขนมขบเคี้ยวอย่างนี้เป็นต้น

ที่ได้กล่าวไปทั้งหมด เป็นวิธีการลด ละเลิก สุรา และบุหรี่ ด้วยวิธีการทางศาสนาในสาขาจิตเวช เพราะจะต้องเกี่ยวโยงถึงความมีสติ คือระลึกนึกถึงได้ และความมีสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว ไม่เผลอตัว อันล้วนเกี่ยวข้องกับ ความรู้ ความจำ ความรู้สึก และการปรุงแต่ง ซึ่งการ ลด ละเลิก บุหรี่ และสุรานั้นจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของบุคคล นั้นๆ และผู้เขียนขอรับประกันได้เลยว่า หากบุคคลนั้นๆต้องการลด ละเลิก อย่างแท้จริงแล้วละก้อ การลด ละเลิก ด้วยวิธีการทางศาสนาในสาขา จิตเวช มีประสิทธิภาพประสิทธิผล 100 เปอร์เซ็นต์

ประสบการณ์จริง กับการเลิกบุหรี่

ปัจจุบัน มีหน่วยงานจำนวนไม่น้อยที่รณรงค์ให้ผู้คนเลิกสูบบุหรี่ โดยได้ชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของบุหรี่ ว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายทรุดโทรม และอาจต้องเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคร้ายต่าง ๆ เช่น ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ มะเร็งปอด โรคในช่องปาก หลอดลมอักเสบ ฯลฯ

ผู้ เขียนเชื่อว่าผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ต่างทราบดีอยู่แล้วว่า บุหรี่มีพิษภัยร้ายแรงและส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ด้วยเหตุที่บุหรี่มีฤทธิ์เสพติดสูงมาก สูงพอ ๆ กับเฮโรอีน จึงทำให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบได้ยาก ถึงแม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันร้ายแรงต่าง ๆ และได้พยายามเลิกแล้วก็ตาม และด้วยเหตุที่บุหรี่ออกฤทธิ์เสพติดสูงนี่เอง จึงทำให้ผู้ที่ลองสูบเล่น ๆ กลายเป็นคนติดบุหรี่ไปในที่สุด ดัง นั้น ก่อนที่จะเขียนต่อไปเกี่ยวกับคำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ ก็อยากจะฝากเตือนไปยังผู้ที่ริจะลองสูบบุหรี่ด้วยความหลงเข้าใจผิดว่าโก้เก๋ ดูเป็นศิลปิน หรือทดลองดูนิดหน่อยไม่เป็นไร ว่าอย่าลองดีกว่า เพราะเมื่อเริ่มสูบบุหรี่แล้ว มวนแรกอาจจะรู้สึกขื่นและสำลักควัน ก็จะแก้ตัวด้วยมวนที่สองและตามด้วยมวนที่สาม หลังจากนั้น ร่างกายจะเริ่มปรับตัว สารเสพติดในบุหรี่จะออกฤทธิ์ กระตุ้นให้เราสูบมากขึ้น ๆ บาง คนซื้อบุหรี่มาซองหนึ่ง คิดว่าจะสูบเพียงสองหรือสามมวนแล้วทิ้ง พอสูบเข้าจริง ๆ ก็สูบจนหมดซอง บางครั้งไม่ได้ตั้งใจว่าจะสูบให้หมดซอง แต่ฤทธิ์ของสารเสพติดในบุหรี่พาเราไปโดยไม่รู้ตัว คิดแต่เพียงว่าสูบให้หมด ๆ ไป หมดซองแล้วก็เลิก ความจริงมันจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อสูบจนหมดซอง อาการเสพติดจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ (อย่างไม่รู้ตัว) ทำให้ไม่อยากเลิก หาก เข้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนฝูงที่สูบบุหรี่ ก็จะเกิดความอยากที่จะสูบอีก หรือถ้าได้เข้าวงสังสรรค์ที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะพาให้กลับไปสู่วังวนของการสูบบุหรี่ได้ง่าย

การจะเลิกสูบบุหรี่ให้สำเร็จได้ ต้องมีความตั้งใจมั่นที่จะเลิก ไม่เช่นนั้นไม่มีทางเลิกได้ หลายคนพยายามเลิกแต่ไม่สำเร็จ ส่วน ใหญ่แล้ว ก่อนเลิกก็มักจะสูบมวนสุดท้ายด้วยสติพิจารณาถึงพิษภัยของมัน อัดควันเข้าปอดให้เต็มที่ แล้วพูดกับตัวเองว่า มวนสุดท้าย..จบกัน แต่พอหลังจากผ่านไปหนึ่งถึงสองชั่วโมง ความอยากบุหรี่ก็จะเกิดขึ้นดั่งที่เคยเป็น และอาการอยากบุหรี่ก็จะรุนแรงขึ้นตามลำดับ มา ถึงจุดนี้ หากผู้ติดบุหรี่ไม่มีความเข้าใจถึงอาการถอนยา (อาการที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายหลังจากหยุดบุหรี่) หรือไม่มุ่งมั่นพอ ก็จะแพ้ใจตนเองและกลับไปสูบใหม่ หากขยำซองทิ้งไปแล้วก็จะไปตามหาว่าโยนทิ้งไปที่ไหน แล้วไปคุ้ยซองมาเปิดดูว่ายังพอเหลือเศษบุหรี่ให้สูบได้หรือไม่ หรืออาจจะไปคุ้ยในที่เขี่ยบุหรี่ ว่ามวนไหนยังสูบไม่สุดมวน หรือถ้าหาไม่ได้จริง ๆ เพราะว่าได้นำบุหรี่ทั้งซองไปแช่น้ำจนเปียกก่อนขยำทิ้ง (ความมุ่งมั่นแต่แรกมีมาก) ก็จะออกไปซื้อมาสูบใหม่ บุหรี่หาซื้อได้ง่าย ร้านสะดวกซื้อเปิดตลอด 24 ชั่วโมง และหลังจากที่ได้กลับมาอัดควันบุหรี่เข้าเต็มปอดสมใจอยากแล้ว ก็อาจจะสำนึกเสียใจ แล้วก็หาคำแก้ตัวให้กับตัวเอง เช่น “ไม่เป็นไร เริ่มต้นเลิกใหม่” หรือ “ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้พยายามแล้ว” หรือ “ไว้รอช่วงโน้นช่วงนี้ค่อยเลิกดีกว่า ช่วงนี้งานเยอะ เลิกยาก” ฯลฯ อะไรทำนองนี้ เป็นต้น ผู้เขียนจึงอยากจะย้ำว่าบุหรี่ออกฤทธิ์เสพติดรุนแรงมาก ถ้าไม่เคยสูบอย่าไปลอง เพราะติดแล้วเลิกยากจริง ๆ

ผู้เขียนสูบบุหรี่มวนแรกตั้งแต่อายุยังไม่ถึงสิบขวบ ลองสูบเล่น ๆ เพราะเคยเห็นผู้ใหญ่เขาสูบ ก็อยากจะรู้บ้างว่าสูบแล้วเป็นอย่างไร พอดีคนงานมาซ่อมบ้าน เขาทิ้งบุหรี่ไว้จึงไปเปิดซองหยิบมาจุดสูบ ยืนสูบอยู่ริมถนนหลังบ้าน ไม่ได้แอบสูบ แต่สูบแบบเปิดเผย เพื่อนบ้านเดินผ่านมาเห็นเข้าก็ดุเอา ว่าตัวแค่นี้สูบบุหรี่แล้วหรือเนี่ย ตอนนั้นไม่ได้รู้สึกว่าตนทำผิดอะไร ก็เคยเห็นผู้ใหญ่เขาสูบจึงอยากจะลองดูบ้าง เท่านั้นเอง สูบ ๆ หยุด ๆ เล่นไปเล่นมา ไปติดเอางอมแงมเมื่ออายุสิบสีขวบ ราย ได้ก็ยังไม่มีเพราะเรียนหนังสืออยู่ อาศัยเงินพ่อแม่ให้เป็นค่าขนม ก็แบ่งไปซื้อบุหรี่ทุกวันโดยที่พ่อแม่ไม่ทราบ ซื้อปลีกวันละสามมวนบ้าง ห้ามวนบ้าง สมัยก่อนร้านโชวห่วยเขาแกะซองขาย ห้ามวนสองบาท ตอนหลัง ๆ ขึ้นราคามาเป็นสามมวนสองบาท ก็ซื้อสูบตามปริมาณเงินในกระเป๋าที่มี ความจริงอาการอยากบุหรี่จะเกิดทุก ๆ ชั่วโมง แต่ที่ต้องแบ่งระยะให้ห่างเพราะบุหรี่มีน้อย ต้องแบ่งให้พอสูบในแต่ละวัน ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็ไถบุหรี่เพื่อน เขาจะแซวกันว่าเป็นบุหรี่ตรา “ไถ” (ไม่ใช่ตรา “คันไถ” แต่หมายถึง “รีดไถ”) ตั้งแต่ เรียนหนังสือก็สูบมาเรื่อยจนกระทั่งเรียนจบ เข้าทำงานก็ยังสูบต่อ สูบมากขึ้นไปอีกเพราะหาเงินเองได้แล้ว จากที่เคยซื้อแบบแกะซองขาย ก็เปลี่ยนมาซื้อทั้งซอง พอซื้อบ่อย ๆ เข้าก็ชักรำคาญที่ ต้องเดินไปซื้ออยู่เรื่อย ก็เปลี่ยนมาซื้อเป็นห่อ ห่อละสิบซอง ไป ๆ มา ๆ จากที่ซื้อครั้งละห่อ ก็กลายเป็นซื้อครั้งละหลาย ๆ ห่อ โดยเฉพาะบุหรี่ยี่ห้อต่างประเทศ ฝากเพื่อนซื้อจึงซื้อคราวละมาก ๆ มาเก็บตุนไว้แล้วค่อย ๆ สูบไป ยังดีที่เลิกได้ ไม่เช่นนั้นคงซื้อยกลังจากโรงงานยาสูบโดยตรง
จาก ที่เริ่มต้นสูบวันละสองหรือสามมวน เวลาผ่านไปเกือบยี่สิบปี สุดท้ายก่อนตัดสินใจเลิก เป็นช่วงที่สูบบุหรี่วันละสองซองเป็นอย่างน้อย (40 มวน minimum) ช่วงนั้นร่างกายรับไม่ไหวแล้ว ไม่สบายบ่อย (ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นเพราะดันสูบเข้าไปได้ วันละไม่ต่ำกว่า 40 มวนทุกวัน ๆ) จำได้ว่าตอนที่ตัดสินใจเลิกนั้น เป็นเวลาเย็นกลับจากทำงาน ภรรยาได้มาขอร้องให้เลิกบุหรี่ (หลังจากได้ขอร้องมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน) ภรรยาได้พูดถึงลูกซึ่งขณะนั้นอายุได้ขวบเศษ ว่าต่อไปคงกำพร้าพ่อ เพราะพ่อจะเป็นมะเร็งตายเสียก่อนลูกโต หรือหากไม่ตาย ก็คงเป็นโรคถุงลมโป่งพอง นอนพะงาบ ๆ ทำงานทำการไม่ได้ และในวันหนึ่งข้างหน้า ลูกก็คงติดบุหรี่เหมือนพ่อ จะไปห้ามลูกก็ไม่ได้ในเมื่อพ่อยังสูบเป็นตัวอย่างให้เห็น ฯลฯ หลัง จากจบปาฐกถาในเย็นวันนั้นแล้ว ผู้เขียนก็ได้ใคร่ครวญและเห็นจริงตามที่ภรรยาว่า จึงตัดสินใจเลิกบุหรี่ทันที โดยไม่มีการสั่งลาด้วยมวนสุดท้ายเหมือนเช่นทุก ครั้งที่เคยพยายามเลิก

หลังจากที่ผ่านคืนแรกแห่งการไม่สูบบุหรี่
ไปได้ด้วยความมุ่งมั่น วันรุ่งขึ้นก็ไปทำงาน ปรากฏว่ามีอาการผิดปรกติเกิดขึ้นกับร่างกายมากมาย เริ่ม จากอาการไม่มีแรง แขนขาแข็ง ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเช่นทุกวัน ล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำเช้าแล้ว ก็ไม่รู้สึกสดชื่น ขี้ตาเขรอะ น้ำมูกน้ำตาไหลซึม หาวนอนตลอดเวลา พูดเสียงอู้อี้เหมือนคนเป็นหวัด ดื่มกาแฟแล้วก็ไม่ดีขึ้น ขับรถไปทำงานก็ขับสะเปะสะปะ เกือบจะไปเบียดกับรถคันอื่นตั้งหลายครั้ง พอ ไปถึงที่ทำงาน ก็มีอาการหัวตื้อ คิดอะไรไม่ออก นึกไม่ออกว่ามีงานค้างอะไรที่ต้องทำต่อจากเมื่อวานนี้บ้าง หรือมีงานด่วนอะไรบ้างที่ต้องรีบทำ เริ่มต้นไม่ถูกเลย เหมือนคนไม่มีสมาธิในการทำงาน เพื่อนที่ทำงานมา ปรึกษาเรื่องงาน ก็ได้แต่มองหน้า ได้ยินเขาพูดแต่ไม่ได้ฟัง นึกไม่ออกว่าจะให้คำแนะนำอย่างไร บางครั้งต้องขอให้เขาพูดซ้ำใหม่ และกว่าเราจะตอบเขาได้ก็ลำบากยากเย็น น้ำเสียงก็อู้อี้เหมือนคนเอามืออุดจมูกพูด จุก เสียดแน่นท้องแน่นหน้าอกเหมือนคนเรอไม่ออก เวลาลุกเดินก็เหมือนคนไม่มีแรง ก้าวขาไม่ค่อยจะออก ปวดตามเนื้อตามตัว บางครั้งก็ปวดจี๊ดที่ขมับ ปวดหนึบ ๆ บริเวณขอบตาด้านบน ฯลฯ สรุปแล้ว วันแรกที่เลิกบุหรี่ ทำงานไม่ได้เลย เหมือนคนครึ่งหลับครึ่งตื่น ไม่มีสมาธิในการทำงานเอาเสียเลย แต่ก็ยังใจแข็งพอ ที่จะไม่ออกไปซื้อหาบุหรี่มาสูบเพื่อให้ทำงานได้ตามปรกติ ตกเย็นกลับถึงบ้านก็ดีใจที่หยุดบุหรี่มาได้ (ตั้ง) ยี่สิบสี่ชั่วโมง

เริ่มต้นวันที่สอง ตื่นขึ้นมาก็เกิดอาการลุกไม่ขึ้น หนาวเหมือนคนเป็นไข้ แต่ไม่มีไข้ ตัวไม่ร้อน ต้องนอนห่มผ้าทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ วันนี้ไปทำงานไม่ได้ เพราะเดินไม่ไหว หนาวสั่น ปวดตามเนื้อตามตัวมาก ขยับแขนขาก็ลำบาก ไม่มีแรง ได้แต่นอนนิ่ง ๆ อยู่กับที่ วันนี้หลับลึกทั้งวัน เลยไม่ได้นึกถึงบุหรี่
วันที่สาม รู้สึกเหมือนคนเพิ่งฟื้นไข้ แต่ยังปวดตามเนื้อตามตัวอยู่บ้าง และพูดเสียงอู้อี้เหมือนคนเป็นหวัด มีน้ำมูกน้ำตาไหล แต่เริ่มมีแรงเดินไปไหนมาไหนได้แล้ว จึงกลับเข้าที่ทำงานช่วงบ่าย ความรู้สึกอยากบุหรี่ยังไม่ได้หมดไป ตรงกันข้าม กลับรู้สึกว่าพอกันที ขอกลับไปสูบเหมือนเดิมดีกว่าจะได้มีสมาธิทำงานได้ตามปรกติ แต่เนื่องจากว่า ได้โละที่เขี่ยบุหรี่และบุหรี่ทิ้งตั้งแต่วันแรกแล้ว จะกลับไปซื้อมาสูบใหม่ก็ยังลังเลใจเพราะได้รับปากกับภรรยาไว้ พอ ไปถึงที่ทำงานก็เดินป้วนเปี้ยนอยู่บนอาคารจอดรถ ตาก็เหลือบไปเห็นก้นบุหรี่ที่เขาโยนทิ้งไว้กับพื้น สูบไปได้ครึ่งเดียว ยังเหลืออีกครึ่ง จึงก้มลงไปเก็บมาจุดสูบ ปรากฏว่า หลังจากหยุดบุหรี่มาเกือบสามวันเต็ม พอกลับไปสูบใหม่ รสชาติมันไม่เหมือนกับที่เคยสูบเสียแล้ว รู้สึกว่าเหม็นมาก พออัดควันเข้าไปก็มึนหัวจนยืนไม่ไหว สูบได้สองคำเลยโยนทิ้ง แล้วก็รู้สึกสมเพชตนเองที่มาเดินเก็บก้นบุหรี่ ที่คนอื่นเขาทิ้งไว้มาสูบ จึงตัดสินใจแน่วแน่อีกครั้งว่าจะต้องเลิกให้ได้

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ร่างกายก็ค่อย ๆ ปรับตัว เริ่มกลับมาสดชื่น มีสมาธิ กระฉับกระเฉงดังเดิม โดยไม่ต้องพึ่งพาบุหรี่ และยิ่งกว่านั้น กลับรู้สึกว่าร่างกายมีเรี่ยวแรงดี ไม่เหนื่อยง่าย ดีกว่าเมื่อครั้งที่ยังติดบุหรี่มาก ผู้ เขียนจำได้ว่าใช้เวลาประมาณสองถึงสามสัปดาห์ กว่าจะลืมบุหรี่ได้สนิท และสามารถปฏิเสธบุหรี่ได้ถึงแม้จะมีคนรอบข้างมายืน สูบให้เห็นหรือยื่นบุหรี่ให้ก็ตาม ส่วนอาการถอนยา นั้น จะรุนแรงเฉพาะในช่วงสามถึงห้าวันแรกเท่านั้น ระดับความรุนแรงของอาการก็ขึ้นอยู่กับว่าสูบมานานแค่ไหน และปริมาณการสูบมากน้อยเพียงใด

จาก การที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จนี่เอง จึงทำให้สามารถนำประสบการณ์และคำแนะนำดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง เผื่อว่าท่านที่กำลังเลิกบุหรี่จะได้นำไปประยุกต์ใช้ อาจจะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น

สรุปได้ว่า เมื่อเริ่มต้นหยุดบุหรี่ จะ เกิดอาการถอนยารุนแรงในช่วงสามถึงห้าวันแรก หลังจากผ่านช่วงนี้ไปแล้ว ก็ถือเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะร่างกายยังไม่กลับสู่ภาวะปรกติเสียที เดียว ในช่วงสัปดาห์ที่สอง จะมีอาการหงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ ส่วนสมาธิในการทำงานก็ยังไม่นิ่ง พอเข้าสัปดาห์ที่สาม ทุกอย่างก็จะเริ่มดีขึ้น ๆ ตามลำดับ

การ ที่จะเลิกบุหรี่ได้สำเร็จหรือไม่นั้น อยู่ที่ความตั้งใจมั่นของผู้ติดบุหรี่เป็นตัวชี้ขาด ผู้สูบบุหรี่เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเลือกติดบุหรี่ต่อไป หรือเลือกที่จะใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาบุหรี่ การ ใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพึ่งพาบุหรี่นั้น นอกจากจะทำลายสุขภาพของผู้สูบและคนรอบข้างไปทุกวัน ๆ แล้ว ยังเป็นการดำเนินชีวิตที่น่ารำคาญอย่างยิ่ง ต้องอาศัยบุหรี่ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน ไม่ ว่าจะเป็นเวลาก่อนอาหาร หลังอาหาร ก่อนเข้าห้องน้ำ หลังเข้าห้องน้ำ ก่อนเริ่มทำงาน หลังจากเลิกงาน และแม้แต่ระหว่างเวลาทำงานก็ยังต้องหลบไปสูบบุหรี่ ก่อนจะขึ้นรถ ลงจากรถ ฯลฯ ไม่ว่าจะทำอะไร ที่ไหน ก็ต้องหาโอกาสสูบบุหรี่ทุกครั้งไป บางคนไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจริมทะเลหรือบนภูเขา แทนที่จะไปสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอด กลับไปสูดควันบุหรี่แทน บางคนไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา แต่หลังจากออกกำลังกายเสร็จก็หยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า แค่เพียงเลิกบุหรี่ สุขภาพก็ดีขึ้นแล้ว แต่ถ้ายังติดบุหรี่อยู่ ก็มองไม่เห็นว่า จะเกิดประโยชน์อันใดจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเลย นอก จากความตั้งใจที่มุ่งมั่นว่าจะเลิกบุหรี่แล้ว ผู้เขียนมีคำแนะนำเพิ่มเติมให้ลองปฏิบัติดู เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายไม่ทรมานจนเกินไป ดังนี้

  • การเลิกบุหรี่ให้สำเร็จนั้น ควรจะหยุดสูบในทันที หรือที่เรียกกันว่า “หักดิบ” คนส่วนใหญ่ที่พยายามเลิกบุหรี่ด้วยการสูบให้น้อยลงนั้น ในที่สุดจะกลับไปสูบมากขึ้นอย่างเดิม หรือสูบมากกว่าเดิมเสียอีก (ชดเชยช่วงที่ไม่ได้สูบ)
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ หลังปัสสาวะทุกครั้ง ให้ดื่มน้ำตามไปทีละสองแก้ว น้ำจะช่วยร่างกายขับสารนิโคตินและช่วยลดความอยากบุหรี่ลง
  • ในเวลาที่เกิดอาการอยากบุหรี่มาก ๆ การอาบน้ำหรือแช่น้ำ จะช่วยลดความอยากบุหรี่ลงได้
  • รับประทานผักผลไม้ให้มาก ๆ คนที่ติดบุหรี่นั้น เวลาเข้าห้องน้ำทำกิจธุระก็ต้องสูบบุหรี่ไปด้วย พอหยุดสูบก็จะมีอาการท้องผูก ไม่ขับถ่าย ดัง นั้น จึงควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย มีใยอาหารมาก และรับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ก็จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้ตามปรกติ
  • ออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยในช่วงสามสัปดาห์แรก ผู้เขียนได้เคยพยายามเลิกบุหรี่มาหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ครั้งหลังสุดที่ทำได้สำเร็จนี้ ก็อาศัยการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย คือเมื่อผ่านสามวันแรกไปด้วยความยากลำบากแล้ว พอเข้าวันที่สี่ก็เริ่มต้นออกกำลังกายด้วยการวิ่ง วิ่งครั้งแรกได้ระยะทางสามร้อยเมตรก็เหนื่อยหอบแล้ว แต่ก็อดทนวิ่งต่อโดยวิ่งช้า ๆ วิ่งครั้งแรกได้ห้านาที วันต่อ ๆ มาก็วิ่งให้นานขึ้น โดยอาศัยหลักการวิ่งแบบแอโรบิค คือ วิ่งช้า ๆ แต่วิ่งนาน ๆ ทั้ง นี้ เพื่อกระตุ้นหัวใจให้ทำงาน กระตุ้นปอดให้ทำงาน กระตุ้นเซลล์ต่าง ๆ ให้ทำงาน หลังจากที่ถูกสารพิษของบุหรี่ครอบงำมาเป็นเวลาอันยาวนาน การ ออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาควบคู่ไปด้วยนั้น จะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น เพราะนอกจากร่างกายจะหยุดพฤติกรรมในด้านลบ (คือหยุดการสูบบุหรี่) ยังกระตุ้นพฤติกรรมในด้านบวกด้วย (คือการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา) สำหรับผู้เขียนนั้น จากคนที่เคยวิ่งได้ระยะทางสั้น ๆ เพียงสามร้อยเมตรก็เหนื่อย ปัจจุบัน สามารถวิ่งเป็นระยะทางสิบกิโลเมตร อย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้สึกเหนื่อย เมื่อ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง การทำงานต่าง ๆ ก็มีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถนำร่างกายที่แข็งแรงนี้ ไปทำคุณประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย เช่นการบริจาคโลหิต ซึ่งเมื่อครั้งติดบุหรี่ จะไม่สามารถทำได้เพราะร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง
  • หาตัวอย่างดี ๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว พยายามนึกถึงคนดี ๆ คนเก่ง ๆ ที่เขาไม่สูบบุหรี่เป็นตัวอย่าง เพราะ เมื่อเรานึกถึงคนเหล่านี้ เราก็จะรู้สึกว่า เขาเก่งเขาดีเขาเท่ห์ได้โดยไม่เห็นต้องพึ่งพาบุหรี่เลย นอกจากนี้ คนเก่งเหล่านี้ยังต่อต้านการสูบบุหรี่เสียด้วยซ้ำไป แต่ถ้าภาพในอุดมคติของเรา ยังเป็นภาพเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ที่คาบบุหรี่ติดปาก หรือภาพของศิลปินที่ติดเหล้าติดบุหรี่ ก็คงไม่ช่วยกระตุ้นให้เราคิดจะเลิกบุหรี่เท่าใดนัก
  • ผู้ เขียนเคยใช้หมากฝรั่งซึ่งมีส่วนผสมของนิโคติน ช่วยในการเลิกบุหรี่อยู่เหมือน กัน โดยใช้ในช่วงสัปดาห์ที่สองหลังจากผ่านระยะถอนยาไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อช่วยทุเลาอาการอยากบุหรี่ที่คอยรบกวนสมาธิในการทำงาน แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง มิฉะนั้น พอเลิกบุหรี่ได้ จะไปติดหมากฝรั่งผสมนิโคตินแทน ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเลิกบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ ผู้ เขียนเคยพยายามเลิกบุหรี่หลายครั้ง พอเริ่มต้นเลิก ก็หยิบเอาหมากฝรั่งผสมสารนิโคตินมาเคี้ยว เคี้ยวแล้วก็กลับไปสูบบุหรี่อีกเหมือนเดิม เพราะอย่างไรเสีย รสชาติของหมากฝรั่งก็ไม่เหมือนรสชาติของบุหรี่ แต่หากตั้งใจจริงที่จะเลิกสูบแล้ว ก็ต้องเลิกได้ หมากฝรั่งเพียงช่วยบรรเทาอาการทุรนทุรายลงบ้างเท่านั้นเอง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คน ที่เลิกบุหรี่ได้จำนวนไม่น้อยที่กลับไปติดบุหรี่อีก มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ประสบปัญหาในหน้าที่การงาน ปัญหาครอบครัว ท้อแท้ เหงา ไม่มีเพื่อนฯลฯ คิดไปเองว่าตนเองไม่มีคุณค่า จึงหันหน้าเข้าหาเหล้าเบียร์เพื่อให้ลืมปัญหาต่าง ๆ บางคนไม่มีปัญหา แต่ชอบสังสรรค์ ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะดื่มเหล้าดื่มเบียร์ด้วย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นความอยากบุหรี่ได้เป็นอย่างดี พอเหล้าเบียร์เข้าปาก ก็ทำให้อยากบุหรี่ สังสรรค์บ่อยเข้าก็กลับไปติดบุหรี่อย่างเดิม ผู้ เขียนเอง ถึงแม้จะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จอยู่นาน แต่ก็กลับไปติดอีกอยู่หลายครั้งเพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พาไป พอติดแล้วก็เลิกยาก ต้องเริ่มต้นใหม่เหมือนเมื่อเริ่มต้นเลิกบุหรี่ครั้งแรก ต้องผ่านระยะเวลาถอนยา สามถึงห้าวันแรก ซึ่งทรมานมาก เพราะทำงานไม่ได้ดั่งใจ ผิดพลาดบ่อย สมาธิไม่ดี หงุด หงิดง่าย ทำให้คนในครอบครัวและคนรอบข้างต้องพลอยเดือดร้อนรำคาญไปด้วย ร่างกายที่เริ่มฟื้นคืนสภาพ หลังจากเลิกสูบบุหรี่ก็ถูกทำลายด้วยพิษภัยของ บุหรี่อีก บ่อย ๆ เข้าก็เลยเลิกเด็ดขาด ไม่กล้าสูบ เพราะเวลาเลิกแต่ละครั้งมันยุ่งยากทรมานจริง ๆ
  • ทำงานแต่พอสมควรและพักผ่อนให้มากขึ้น เคย พูดคุยกับหลาย ๆ คนที่ต้องการเลิกบุหรี่ แต่เลิกไม่ได้เพราะอาชีพการงานบังคับ เช่น ต้องขับรถ ถ้าหยุดสูบบุหรี่จะขับไม่ได้เลย อันนี้เป็นเรื่องจริง เพราะการหยุดสูบบุหรี่ส่งผลต่อร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสามถึงห้าวันแรก บางคนต้องทำงานที่ใช้สมาธิ ใช้ความคิด ความละเอียดอ่อน พอหยุดบุหรี่ สมาธิในการทำงานจะหายไปในช่วงแรก ทำให้งานผิดพลาดได้ง่าย เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจ หากเป็นไปได้ก็หาช่วงจังหวะที่เหมาะ ลาหยุดพ่วงกับวันหยุดราชการต่อเนื่อง จะได้มีเวลานานพอสำหรับระยะถอนยา บางคนอาจจะไปฝึกกรรมฐาน ที่วัดเพื่อบังคับตัวเองไปในตัวไม่ให้แตะต้องบุหรี่ ก็เป็นวิธีการที่ดี หรือหากไม่สามารถหยุดหรือลางานได้จริง ๆ ก็ควรงดเว้นงานหนักในช่วงที่เริ่มต้นเลิกบุหรี่ แล้วเพิ่มเวลานอนพักผ่อนให้มากขึ้น
  • ผู้ที่ติดบุหรี่ เมื่อไม่ได้สูบ จะหงุดหงิดง่าย เห็นอะไรก็ขวางหูขวางตาไปหมด ใครทำอะไรให้ก็ไม่ถูกใจ คน ในครอบครัว เพื่อนฝูง ญาติมิตรหรือคนรอบข้าง ควรให้กำลังใจ เข้าใจ ให้อภัยและไม่ถือโกรธ เพราะความจริงแล้วเขาไม่ได้ต้องการจะเป็นเช่นนั้น แต่เป็นอาการปรกติของคนหยุดสูบบุหรี่ ผู้เขียนก็เช่นเดียวกัน พอไม่ได้สูบบุหรี่มาสี่หรือห้าวัน ก็เริ่มหงุดหงิด พูดจากวนประสาทภรรยาจนเกือบจะทนไม่ไหว พอออกนอกบ้านก็ไปพูดจาท้าทายคนอื่น ดีที่ไม่ถูกเขากระทืบเอา
... ก่อนจะจบ “ประสบการณ์เลิกบุหรี่” นี้ ขอนำเสนอบทความหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อหยุดสูบบุหรี่ เห็น ว่าเป็นประโยชน์ดี จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง เขาบอกว่า ทันทีที่ผู้สูบบุหรี่เริ่มหยุดสูบบุหรี่ จะก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้

ภายใน 2 ชั่วโมงแรก
จะไม่มีนิโคตินหลงเหลืออยู่ในตัวอีกต่อไป แต่กว่าที่กากของนิโคตินจะถูกขจัดให้หมดสิ้นไป อาจกินเวลาถึงสองวัน
ภายใน 6 ชั่วโมง
อัตรา การเต้นของหัวใจที่เคยถูกเร่งให้เต้นถี่กว่าปรกติก็จะเต้นช้าลง และยังทำให้ความดันโลหิตที่เคยสูงเกินปรกติ ค่อย ๆ ลดลงมาเล็กน้อย แต่กว่าที่ระดับความดันโลหิตจะลดลงถึงระดับที่ควรจะเป็น อาจต้องใช้เวลา3 วันถึงหนึ่งเดือน ตามสภาพร่างกายของแต่ละคน
ภายใน 12-24 ชั่วโมง
ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ที่จับแน่นอยู่กับเม็ดเลือดแดงจะถูกขจัดออกไป ปอดจะกลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนรู้สึกว่าอาการเหนื่อยหอบง่าย ๆ จะค่อย ๆ หายไป และกำลังวังชาดีขึ้น
หลายวันต่อมา
เสมหะ ที่สะสมอยู่ในปอดจะใสขึ้น แล้วในหลายสัปดาห์ต่อมา คุณก็จะไอมันออกมาได้ ขนอ่อนที่บุผนังทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นอัมพาตเพราะควันบุหรี่จะฟื้นคืนชีพ เพื่อทำงานปัดกวาดสิ่งสกปรกในหลอดลม แต่กว่าที่ขนอ่อนนับล้าน ๆ เส้นเหล่านี้จะฟื้นคืนชีพได้สมบูรณ์ ต้องใช้เวลาประมาณ 3เดือน
ภายใน 3 สัปดาห์
การทำงานของปอดจะดีขึ้น ทำให้สามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นกว่าครั้งที่ยังสูบบุหรี่อยู่
ภายใน 3 เดือน
ระบบ การขจัดสิ่งสกปรกในปอดจะทำงานได้เป็นปรกติ ขณะเดียวกัน สำหรับผู้หยุดสูบบุหรี่ที่เป็นเพศชายนั้น ในช่วงนี้เชื้ออสุจิจะกลับเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับสภาวะปรกติ และจำนวนเชื้ออสุจิก็เพิ่มขึ้นด้วย
ภายใน 5 ปี
อัตราการเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด จะลดลงจนเกือบเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่
ภายใน 10-15 ปี
อัตราการเสี่ยงต่อการตายด้วยโรคร้ายต่าง ๆ ที่เกิดจากบุหรี่ รวมทั้งมะเร็งปอด จะมีความใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

ดังนั้น จึงไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเลิกบุหรี่ เพราะทันทีที่เราหยุดสูบบุหรี่ ร่างกายก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ผู้ ที่ติดบุหรี่และเลิกสูบในทันทีนั้น อาจจะรู้สึกทรมาน แต่ขอให้ทราบไว้เถิดว่า อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะร่างกายกำลังต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายที่ฝังรากมานาน หากเราไม่เข้มแข็งพอและหันกลับไปสูบบุหรี่อีก ก็เท่ากับว่าเรายินยอมปล่อยให้ร่างกายถูกสิ่งชั่วร้ายนี้ครอบงำต่อไป
ผู้เขียนหวังว่า “ประสบการณ์เลิกบุหรี่” ที่ได้นำเสนอมาทั้งหมดนี้ จะเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่เริ่มต้นเลิกบุหรี่ และหวังจะช่วยสะกิดใจผู้ที่ติดบุหรี่อยู่ให้เลิกบุหรี่ด้วย สาเหตุ หนึ่งที่ทำให้ผู้ติดบุหรี่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ ก็เพราะเขาติดอยู่กับความเคยชินในการสูบบุหรี่เสียนานจนลืมไปว่า เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดำเนินชีวิตประจำวันได้ ทำหน้าที่การงานต่าง ๆ ได้ และมีความสุขได้ โดยไม่ต้องสูบบุหรี่ หาก เขาเพียงได้สัมผัสชีวิตใหม่ที่ไม่พึ่งพาบุหรี่แล้ว เชื่อว่าจะไม่มีใครหวนกลับไปสูบบุหรี่อีก และอีกจำนวนไม่น้อยที่จะพูดว่า รู้อย่างนี้เลิกสูบไปนานแล้ว

ขอ เป็นกำลังใจให้ท่านเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ เพื่อตัวท่านเอง เพื่อครอบครัวและคนที่ท่านรัก จะได้มีสุขภาพดี มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณค่า ไม่ทุกข์ทรมานกับโรคภัยไข้เจ็บและจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร

สูบบุหรี่ทำไม เลิกบุหรี่อยู่ที่ใจ

องค์การอนามัยโลก กำหนดให้วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวัน “งดสูบบุหรีโลก” ประเทศไทยเองหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและศาสนาต่างๆ ได้ให้ความสำคัญสนับสนุนการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ผ่านสื่อโทรทัศน์และ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ดังเช่นตัวอย่างคำเตือนในซองบุหรี่
“ควันบุหรี่ทำร้ายลูก ควันบุหรี่ฆ่าคนตายได้ สูบแล้วแก่เร็ว สูบแล้วถุงลมพองตาย สูบแล้วจะมีกลิ่นปาก ควันบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอดการสูบบุหรี่ย่อมเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่นำไป สู่การติดยาเสพติดต่างๆ”
เหล่านี้คือความจริงที่ย้ำเตื่อนให้ผู้สูบบุหรี่ทราบถึงพิษภัยและโรคร้าย ต่างๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยทำให้ผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคหลอดเลือดเลี้ยงสมอง สูบบุหรี่หนึ่งม้วนทำให้อายุสั้น ๖ นาที และอื่นๆ อีกมากมาย และการสูบบุหรี่ยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ของมารดาอีกด้วย
มีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้คนสูบบุหรี่ นับตั้งแต่วัยรุ่นอยากทดลอง การสูบบุหรี่เพื่อให้กลุ่มเพื่อนๆ ยอมรับเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่ม การสูบเพื่อแสดงความกล้าหาญสื่อแสดงตนว่าเป็นผู้ใหญ่ และหรือเป็นสัญลักษณ์การเป็นคนสมัยใหม่ ไม่ตกยุค และการสูบเพื่อลดน้ำหนัก พักความเครียดผ่อนคลายอารมณ์ เป็นต้น ทั้งหมดทั้งปวงนับได้ว่าเป็นความเข้าใจผิด ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
แน่นอน ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ย่อมทราบถึงโทษมหันต์จากการสูบบุหรี่ที่มีต่อ สุขภาพตนเองและคนรอบข้างอื่นๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้สูบบุหรี่มือสองที่หายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปโดยความจำ ยอม แต่ทำไม ? เมื่อการสูบบุหรี่มีโทษมหันต์เป็นอันตรายดังเช่นที่กล่าวมาจึงยังมีผู้สูบ บุหรี่ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยชรา และเราสามารถเห็นผู้สูบบุหรี่ในทุก ๆ ที่แม้แต่ในตู้กระจกในสนามบินยังแออัดยัดเยียดด้วยผู้เข้าไปสูบบุหรี่ด้วย ความสมัครใจ
บุหรี่สูบง่าย ซื้อง่าย แต่เลิกยาก แต่อย่างไรก็ตาม อย่าพึ่งหมดกำลังใจ ตราบใดที่มีผู้สูบบุหรี่ ตราบนั้นการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ ก็ยังคงสำคัญและจำเป็นยิ่งที่ต้องช่วยกันทำต่อไปด้วยวิธีการอันชาญฉลาดอย่าง ต่อเนื่องและอดทน เพื่อชี้แนะให้เห็นโทษชี้นำให้เห็นประโยชน์ ของการเลิกสูบบุหรี่ และประชาสัมพันธ์แก้ไขความเข้าใจผิดของผู้คนทั่วไป
เวลาแห่งการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มีไม่มากพอที่จะตำหนิและกล่าวโทษผู้คิด ผิดติดการสูบบุหรี่ คำตำหนิ ดูถูกเหยียดหยามด้วยความสะใจนั้นย่อมบันทอนกำลังใจผู้สูบบุหรี่และเชื่อว่า คงไม่ทำให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้ ด้วยเหตุนี้พวกเราทุกๆคนควรร่วมมือร่วมใจกันด้วยเมตตาพรหมวิหารธรรมอย่าง จริงจัง เพื่อแสวงหาทางป้องกัน แนะนำแนวทางแก้ไข ให้โอกาส ให้กำลังใจแก่ผู้สูบบุหรี่ เพื่อให้เขาเกิดแรงบันดาลใจ ได้ขบคิดและมีจิตสำนึกที่ถูกต้องดีงามที่จะนำไปสู่ภาคปฏิบัติเพื่อลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในที่สุด
ในสังคมบริโภคนิยม และวัตถุนิยมเช่นทุกวันนี้ สิ่งที่ขาดแคลนมากที่สุดคือ บุคคลในอุดมคติที่เป็นแบบอย่างที่ดีงาม โดยเฉพาะเรื่องการสูบบุหรี่เมื่อปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ และแม่ ยังคาบบุหรี่อยู่ในปากแล้วจะสอนให้ลูกหลานเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างไรกัน? จะต้องถือปฏิบัติว่าตัวอย่าง ที่ดีนั้นมีค่ากว่าคำสั่งสอน ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติใดที่ขาดตัวอย่างที่ดีงามประเทศชาตินั้นย่อมตกอยู่ในภาวะ อันตราย
และคลอนแคลนอย่างยิ่ง
และในที่นี้ ขอนำพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่พสกนิกรและคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ มีใจความที่พระองค์ทรงห่วงใยเกี่ยวกับ การสูบบุหรี่สรุปว่า ...แต่ที่สำคัญเรื่องที่ได้ฟังว่า เห็นว่าเด็กๆ จะต้องสามารถจะเรียนรู้ เรียนให้ทำงานเพื่อช่วยบ้านช่วยเมืองจริงว่าถ้าเด็ก ไม่มีความรู้ ช่วยบ้านเมืองไม่ได้ บ้านเมืองไปไม่รอด เพราะว่าเด็กๆ มัวแต่ไปเสพยาเสพติด สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดไม่ต้องบอกหรอกว่า เสียหายอย่างไร แต่บุหรี่นี่ หูเสีย ตาเสีย สมองเสีย เส้นเลือดเสีย หัวใจรั่ว ... คนที่สูบบุหรี่สมองก็ทึบ ทำไปทำมาทึบทึบเพราะว่าเส้นเลือด ในสมองมันตีบ เลยคิดไม่ออก ตอนแรกนึกว่าคิดออกแต่ตอนหลังคิดไม่ออกทีแรกนึกว่าคนเราสูบบุหรี่ทำให้ กระฉับกระเฉงตรงข้ามไม่กระฉับกระเฉงทำให้รู้สึกว่าสมองมันทึบ สมองมันตัน ก็เลยเห็นว่าเลิกสูบบุหรี่ดีกว่ามีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ห้ามขายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ที่จริงเด็กอายุ 50 ก็ควรจะห้าม คนไหนที่อายุ 80 อยากจะสูบก็สูบ อย่างตอนนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนี ท่าน ๘๐ ท่านสูบบุหรี่ สมเด็จกรมหลวงฯ ท่านก็สูบบุหรี่ ทีหลังท่านก็เลิก...

ในประเด็นเรื่องการสูบบุหรี่นี้ หลวงพ่อพระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) ท่านได้ประพันธ์เป็นบทกลอนไว้เพื่อให้พวกเราเห็นโทษของการสูบบุหรี่ว่า

สูบบุหรี่มีแต่ จะคอยบั่น
ทอนอายให้สั้น นั้นแน่ๆ
กำลังจิตถูกตัดรอนให้อ่อนแอ
เพราะต้องแพ้ แก่ความเงี่ยน ราบเตียนไป
ต้องเสียทรัพย์ บุหรี่ดี ยิ่งมีค่า
เดือนกว่าๆ เงินร้อยๆ พลอยกษัย
น้ำเสียงเครือ ครอแครเหม็นแย่ไป
เอาควันไฟรมปลอด ยอดอันธพาล
เป็นผู้ใหญ่ นำเด็กให้ สูบบุหรี่
ให้พวกผี หัวเราะคนควรสงสาร
แล้วเกิดมาทำไมกันมันป่วยการ
หลงล้างผลาญตัวเองเก่งสุดใจฯ

ในพระพุทธศาสนา ยาเสพติดเป็นหนึ่งในอบายมุขทั้ง ๖ อย่าง (ติดเหล้าและยาเสพติด, เจ้าชู้ส่ำส่อน, เที่ยวสนุกสนานเสมอ, เล่นการพนันประจำ, คบคนชั่วเป็นเพื่อน, และเกียจคร้านทำการงานและเรียนหนังสือ) อบายมุข คือ ปากแห่งความเสื่อม หรือหนทางที่นำผู้กระทำไปสู่ความฉิบหาย ทำร้ายและทำลายชีวิตของตนเอง ดังนั้น ผู้หวังความสุข ความสำเร็จในชีวิตจำต้องเลิกไม่เกี่ยวข้องอบายมุขทั้งสิ้นเมื่อเราทราบถึง โทษมหันต์และอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่เช่นนี้แล้ว ควรที่เราจะได้ตั้งสติ ก่อนจะเสียสตังค์ซื้อบุหรี่ และสูญเสียสุขภาพที่ดีจากการสูบบุหรี่ สูบบุหรี่ทุกครั้งทำลายตน และคนที่เรารัก จึงควรเร่งรัดรวบรวมกำลังใจ ให้โอกาสตัวเองลด ละและเลิกการสูบบุหรี่อย่างเป็นขั้นตอน จงจำไว้เสมอว่า สุขภาพที่ดีไม่มีขาย อยากได้ต้องเลิกสูบบุหรี่ หลีกหนียาเสพติด และขอแสดงความดีใจกับผู้เลิกบุหรี่ได้แล้ว และให้กำลังใจแก่ผู้ที่กำลังเลิกสูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่ยังไม่คิดเลิกสูบบุหรี่หรือพยายามเลิกหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ สำเร็จ เพราะใจอ่อนแอ ก็ควรมีเวลาคบคิดอย่างแยบยลถึงโทษอันตรายของการสูบบุหรี่ หาเวลาฝึกอบรมใจตนเองให้เข้มแข็ง ทั้งอดและทนต่อการอยาก ผ่อนคลายอารมณ์อยากนั้นๆ ด้วยกิจกรรมที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตนเอง และควรจะต้องตั้งสติก่อนจะจุดบุหรี่ม้วนต่อไป ควรบอกตัวเองว่าเราคือคนหนึ่งที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เดี๋ยวนี้ด้วยตัว ท่านเอง เลิกเถอะวันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป...หยุดบุหรี่หยุดได้ด้วยใจที่กล้าหาญและเข้มแข็งอดทน ....หนึ่งใจหนึ่งชีวิต หนึ่งโอกาสเลิกขาดการสูบบุหรี่

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข

1. หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่อีกจนแทบไม่อาจควบคุมได้ เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน และนี่เองที่เป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่
การแก้ไข
  1. ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อย ๆ เพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปเร็วที่สุด
  2. ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลายเหงื่อจะช่วยขับถ่ายนิโคตินออกไป
  3. อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี
  4. พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง
  5. งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่าง ๆ
  6. ฝึกหายใจเข้า - ออกลึก ๆ คล้ายกับถอนหายใจบ่อย ๆ
2. ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด
การแก้ไข
  1. นอนหลับ หรือ นั่ง เพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบ ๆ ฟังเพลงเบาๆ ผ่อนคลายความรู้สึกสบสนออกไป
  2. งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมาก ๆ
  3. พักร้อน หรือลางานครึ่งวันเพื่อพักผ่อน
  4. ดื่มนมอุ่น ๆ
3. โกรธ ขุ่นเคืองง่าย
การแก้ไข
  1. อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ
  2. แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่น เต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย
  3. ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบ หรือ ชกหมอน เข้าห้องน้ำและตะโกนก็ช่วยได้
  4. เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก
  5. คุยปัญหากับเพื่อนสนิท
4. หมดแรง ปวดศรีษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบ ทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา
การแก้ไข
  1. หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ออกกำลังกาย เต้นรำ
  2. พักผ่อน ด้วยวิธีการนอน หรือออกไปสูดอากาศในธรรมชาติ
  3. ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ
  4. รับประทานยาแก้ปวด
อาการ ทางกายเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นเพียงชั่วคราว ประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น

สารพัดวิธี เลิกบุหรี่ด้วยธรรมชาติบำบัด

เป็นความ จริงอย่างหนึ่งที่ว่า การจะทำให้คนที่สูบบุหรี่เลิกบุหรี่นั้นทำได้ยากแสนยาก แถมเลิกได้แล้ว ก็มีคนที่หวนกลับมาสูบใหม่อีกในสัดส่วนที่มาก ไปๆ มาๆ โดยเฉลี่ยการที่คนคนหนึ่งจะเลิกบุหรี่ได้อาจจะต้องเลิกๆ อดๆ ถึง 5-7 รอบ กว่าที่จะเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าการการอดยาเสพติด ร้ายแรงบางชนิดอย่างเฮโรอีนเสีย อีก
การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมของความ เคยชิน ถ้าว่ากันตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์แล้ว การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมโหยหาความสุขในวัยเด็ก (Nostalgia) เนื่องจากระหว่างที่มีพัฒนาการทางจิต ทำให้พวกเขาติดอยู่ที่ความสุขทางปาก (Oral phase) เหมือนเด็กติดนมแม่ บวกกับพฤติกรรมของเด็กผู้ชายที่ติดแม่มากกว่าเด็กผู้หญิง (Odepal complex) จึงทำให้กลุ่มผู้สูบบุหรี่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด สรุปก็คือ กลุ่มผู้ชายที่ติดบุหรี่ก็คือกลุ่มผู้ชายกลุ่มนี้โหยหาความรักจาก แม่นั่นเอง
แต่เมื่อเติบโตขึ้น สังคมไม่ได้ยอมรับพฤติกรรมของผู้ชายที่ติดนมแม่ การหาบุหรี่มาสูบในเวลาเครียดๆ ก็เพื่อทดแทนความสุขทางปากที่มีมาแต่ดั้งเดิมนั่นเอง ประกอบกับคนเรามักมีพฤติกรรมถดถอยสู่วัยเด็ก (Regression) เวลาที่เผชิญกับความเครียดที่ยากจะเอาชนะได้ ดังนั้นจึงพบอยู่เสมอๆ ว่า เวลาที่คนพวกนี้เครียด จะต้องมองหาบุหรี่มาจุดสูบระบายความเครียด
ดัง นั้น ถ้ามีคนใกล้ตัวกำลังจะอดบุหรี่ ไม่ว่าจะอดสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ให้รู้ไว้ว่า เขาจะต้องใช้กำลังใจและความเข้มแข็งอย่างมากในการอดบุหรี่ เพราะโดยสถิติแล้ว คนที่สูบบุหรี่จำนวนมากที่มีความอยากเลิกบุหรี่ แต่ก็ยังเลิกไม่ได้เสียที การที่คนรอบข้างเข้ามาช่วยเป็นกำลังใจให้เขา จะช่วยให้การอดบุหรี่มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
อย่าง ที่กล่าวไปแล้วว่า ความอยากบุหรี่นั้นเป็นพฤติกรรมของความเคยชิน ดังนั้น เมื่อตัดสินใจจะเลิกบุหรี่แล้วก็จงตัดให้ขาด ประเภทที่ว่า ขอลดๆ ปริมาณที่สูบลงทีละมวน 2 มวน เพื่อหวังว่าจะหยุดสูบได้ในที่สุดนั้น จากการสำรวจพบว่ามักจะล้มเหลวมากกว่าการเลิกด้วยวิธีหักดิบ
การ เลิกบุหรี่แบบหักดิบนั้น เริ่มตั้งแต่ ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ที่ใช้สูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นไฟแช็ค ที่เขี่ยบุหรี่ไปให้หมด รวมถึงละเว้นพฤติกรรมที่ชอบทำควบคู่ไปกับการสูบบุหรี่ด้วย ถ้าจะให้ดีก็ให้งดซะ ยิ่งกลุ่มก๊วนที่เคยสูบบุหรี่ด้วยกันมาก่อน ช่วงที่ยังไม่อยู่ตัวให้เซย์บ๋ายบายไว้ช่วงหนึ่งก่อนเลย เพราะเมื่อไหร่ที่เราหรือเพื่อนฝูงที่อยู่ด้วยกันทำกิจกรรมนั้นๆ จะเป็นการกระตุ้นเตือนจิตใต้สำนึกของเราให้อยากบุหรี่ขึ้นมา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกิน เช่น บางคนกินเบียร์ หรือจิบกาแฟ พร้อมๆ กับการสูบบุหรี่เป็นประจำ จากการสัมภาษณ์คนที่เคยเลิกบุหรี่ จะบอกว่ากินเมื่อไหร่จะรู้สึกจืดชืดเหมือน ขาดอะไรไปอย่าง พาลจะควักบุหรี่ขึ้นมาสูบให้ได้
เพื่อ ไม่ให้ว่างจนจิตวุ่นวายระหว่างอดบุหรี่ มีข้อแนะนำว่าให้หากิจกรรมคลายเครียดอย่างเช่น การออกกำลังกาย ทำซะ หรือใช้วิธีดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับนิโคตินออกจากร่างกาย ทำให้อาการอยากบุหรี่หายไปได้เร็วขึ้น
อีก วิธีทางธรรมชาติบำบัดที่ลดอาการลงแดงจากการเลิกสิ่งเสพติดได้ดี ก็คือ การฝึกชี่กง มีงานวิจัยในผู้เสพเฮโรอีนที่ถูกส่งมาบำบัด กลุ่มหนึ่งไม่ทำอะไร, กลุ่มหนึ่งให้กินยาเลิก, อีกกลุ่มหนึ่งให้ฝึกชี่กงเพียงอย่างเดียว จากการตรวจวัดระดับสารเฮโรอีน พบว่า กลุ่มที่ฝึกชี่กงนั้นสามารถขจัดอนุพันธุ์ของเฮโรอีนออกจากตัวได้เร็วที่สุด นอกไปจากนั้น อาการลงแดงที่เกิดระหว่างการบำบัด พบว่ากลุ่มที่ฝึกชี่กงมีอาการลงแดงเพียง 4-5 วันเท่านั้น เทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วต้องใช้เวลาเกือบ 10 วันกว่าที่อาการลงแดงจะหายไป ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รักษาด้วยยาเลิกที่อาการลงแดงจะหายไปภายใน 7 วัน ก็ยังพบว่ากลุ่มที่ฝึกชี่กงยังให้ผลลดอาการลงแดงได้ดีกว่าการกินยาเสียอีก ในคนสูบบุหรี่ก็เช่นกัน ถ้าได้ฝึกชี่กงควบคู่ไปกับวิธีการอดบุหรี่อื่นๆ ก็จะช่วยให้ผ่านช่วงอยากบุหรี่ไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
อีก วิธีหนึ่งที่นำมาช่วยในการเลิกบุหรี่ได้ก็คือ การใช้ชาชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า ชาหญ้าดอกขาว ชานี้มีวิธีใช้ก็คือ ให้ถ้าระหว่างที่อดบุหรี่อยู่ อยากสูบบุหรี่ขึ้นมามากๆ จนทนไม่ไหวแล้ว ก่อนที่จะใจแตกไปสูบบุหรี่ ให้ชงชาหญ้าดอกขาวดื่มสักแก้วนึงก่อน เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว ถ้าสูบบุหรี่ตามมันจะไปทำให้ความรู้สึกจากการสูบบุหรี่ไม่เหมือนที่เคย จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยใช้ ส่วนใหญ่มักกล่าวว่า "มันสูบแล้วไม่อร่อยเหมือนเดิมน่ะหมอ"
นอก เหนือไปจากนั้น บางคนที่ไม่มั่นใจว่าจะทำการอดบุหรี่ได้เองหรือเปล่า หมอก็จะใช้วิธีการ ฝังเข็ม ช่วยด้วย โดยจะมีจุดฝังเข็มบางจุดที่สามารถลดอาการอยากสูบบุหรี่ขณะอดบุหรี่ได้ ก็จะช่วยให้การอดบุหรี่ไม่ทรมานมากเท่าไหร่
เนื่อง จากเป็นพฤติกรรมของจิตใต้สำนึก บางคนที่มีอาการอยากบุหรี่มากๆ ถ้าจำเป็น เราอาจใช้วิธีการ สั่งจิตใต้สำนึก เพื่อลดความอยากบุหรี่ระหว่างที่อดบุหรี่ช่วยด้วยอีกแรง ก็พบว่าช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้ดีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ใน ขณะที่อดบุหรี่อยู่นั้นตัวผู้อดเองต้องร่วมมือ อาจมีการจด บันทึก จำนวนบุหรี่ที่เราสูบ อาการแสดงเมื่อหยุดสูบ ช่วงเวลาที่เกิดอาการมากที่สุด รายงานให้หมอทราบก็จะช่วยบรรเทาอาการศีลแตกได้มากทีเดียว
อย่าง ไรก็ดี บทสรุปที่สำคัญที่สุดของคนที่จะเลิกบุหรี่ได้ก็คือ จะต้องมีความเข้มแข็งของจิตใจ คนที่ถูกบังคับให้เลิกบุหรี่ คนพวกนี้ถึงจะใช้วิธีการใดก็ยังกลับไปสูบบุหรี่อยู่ดี แต่ถ้าคนไหนที่ตัดสินใจได้เด็ดขาดว่าจะเลิกแล้ว วิธีการหลายๆ วิธีทางธรรมชาติบำบัดสามารถช่วยท่านได้ครับ.

8 ขั้น การเตรียมการเลิกบุหรี่

การเลิกบุหรี่
การเลิกบุหรี่ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือด้วยกระบวนการทางการแพทย์ สามารถ
ช่วยอาการติดแบบ Psysical Addiction ได้ แต่สำหรับ Habit แล้ว ต้องอาศัยกำลังใจ
ความเข้มแข็ง และความตั้งใจจริง ถ้าหากคุณเป็นผู้หนึ่ง ที่คิดจะเลิกบุหรี่
ในวันพรุ่งนี้ วันงดบุหรี่โลก หรือวันไหนก็แล้วแต่ ที่ถือเป็นวันดีสำหรับคุณ
ลองมาปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ เพราะมันจะช่วยให้คุณ ไม่หวนกลับมาหาบุหรี่อีกเลย

1. ทิ้งบุหรี่ที่คุณมีอยู่ให้หมด หาให้ทั่วว่าคุณอาจจะซุกซ่อนบุหรี่ของคุณเอาไว้ที่ไหน ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง เสื้อแจ็คเก็ต ลินชักโต๊ะทำงาน
โยนทิ้งไม่ให้เหลือแม้กระทั่งมวนเดียว ไม่ว่ามันจะมีราคาแพงแค่ไหนก็อย่าเสียดายเป็นอันขาด
2. ที่เขี่ยบุหรี่ก็ทิ้งไปเสียด้วย กรณีที่เสียดายเพราะมันเป็นเครื่องตกแต่งราคาแพง อาจจะยกให้คนอื่นไปเสีย หรือนำไปเก็บไว้ในที่ ๆ คุณแน่ใจว่า จะไม่มองเห็นหรือหยิบออกมาได้โดยง่าย
3. เปลี่ยนทรงผม จะได้ดูว่า เรากำลังจะเป็นคนใหม่
4. ทำความสะอาดบ้านและเครื่องเรือนทั้งหมด รวมทั้งเสื้อผ้าก็นำมาซักให้สะอาด ให้กลิ่นบุหรี่หมดไป จริงอยู่คนสูบบุหรี่จะไม่ได้กลิ่นเหล่านี้หรอก เพราะความเคยชิน แต่เมื่อเลิกแล้ว คุณจะได้กลิ่นของมัน
5. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพราะมันจะช่วยชำระล้าง Nicotine ออกจากร่างกาย และยังช่วยบรรเทาอาการอยากบุหรี่ได้ด้วย
6. ลดปริมาณสาร Caffeine ที่รับประทานในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นชาหรือกาแฟก็ตาม โดยก่อนการเลิกบุหรี่ ควรจะพยายามลดปริมาณสารนี้ให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทานในแต่ละวัน เพราะ Nicotine ทำให้ caffeine ซึมเข้าร่างกายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถ้าหากคุณรับประทาน Caffeine ในปริมาณเท่าเดิม ขณะที่สูบบุหรี่ อาจจะนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า Caffeine Toxicity โดยมีอาการ กระวนกระวายและเครียดได้ แลtนั่นอาจจะทำให้คุณหันกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง
7. ออกกำลังกาย เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เราเอาใจออกห่างจากบุหรี่ได้ด้วย
8. หาเพื่อนที่มีความต้องการจะเลิกบุหรี่ด้วยกันสักคน แล้วเลิกพร้อมกันเพื่อที่จะได้เป็นที่ปรึกษา คอยเตือนและคอยให้กำลังใจกัน หรืออาจจะเป็นการหาแรงบันดาลใจอื่น เช่น เลิกเพื่อลูก เลิกเพื่อบิดามารดา หรือคนรักก็ได้

ทำไมการเลิกบุหรี่ถึงเป็นเรื่องยาก

เหตุที่ทำให้การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องยากนั้น มีสาเหตุที่สำคัญ 2 อย่างคือ

  1. การติดเพราะร่างกายต้องการ หรือ Psysical Addiction
  2. การติดเพราะสูบจนเป็นนิสัย หรือ Psychological Addiction หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นHabit จริง ๆ แล้ว การติดบุหรี่ของคนเรา มักจะประกอบไปด้วยทั้ง 2 องค์ประกอบข้างต้น ดังนั้นการเลิกบุหรี่ จึงจำเป็นต้องกำจัดสาเหตุทั้งสองอย่างออกไปให้ได้พร้อม ๆ กัน

ข้อเท็จจริงของการติดที่เรียกว่า Psysical Addiction ภายในเวลาเพียงแค่ 7 ถึง 10 วินาที ที่เราสูบบุหรี่ สาร Nicotine ก็จะเริ่มส่งผลกระทบต่อสมองของเราโดยทันที ทำให้เราเกิดความรู้สึกพึงพอใจ กระฉับกระเฉง ขึ้นมาทันที

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที Nicotine ก็จะสลายออกไปจากร่างกายเรา หมด และเมื่อนั้น ความรู้สึกเหนื่อย กระสับกระสาย และ เครียด ก็จะเข้ามาแทนที่ จนต้องสูบมวนใหม่ และความต้องการนั้นก็จะเพิ่มปริมาณ และความถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอาการติดไปในที่สุด
ข้อเท็จจริงของการติดที่เรียกว่า Psychological Addiction หรือ Habit ข้อนี้ ลองถามตัวเองดูว่า บุหรี่ มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของคุณมากแค่ไหน สาเหตุของการติดในลักษณะนี้ อธิบายง่าย ๆ ตามหลักการของ Ivan Pavlov ในทฤษฎีที่ เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่าหมาได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เพราะคิดว่าจะ ได้อาหารกล่าวคือ ได้มีการทดลอง นำกระดิ่งมาสั่นทุกครั้งก่อนที่จะให้อาหารสุนัข สุนัขก็จะรับรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเสียงกระดิ่ง จะได้อาหารและเมื่อกระดิ่งดังขึ้น สุนัขก็จะน้ำลายไหล แม้ว่าการสั่นกระดิ่งในครั้งนั้น จะไม่มีอาหารให้ก็ตาม เพราะสุนัขเรียนรู้ว่าเอาหละ เมื่อเสียงกระดิ่งดังขึ้น ฉันจะได้อาหารแล้ว
ทีนี้มาลองเปรียบเทียบกับคนติดบุหรี่ เราจะเห็นได้ว่า คนติดบุหรี่นั้น มักจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่มาควบคู่ไปกับการสูบบุหรี่ เช่น เมื่อขับรถจะสูบบุหรี่ ทุกครั้งเมื่อตื่นนอนขึ้นมาจะต้องหยิบบุหรี่สูบ ทีนี้ทุกครั้งที่ขึ้นนั่งบนรถ สมองก็จะสั่งว่า “เอาหละฉันขึ้นนั่งบนรถแล้ว ไหนล่ะบุหรี่” แบบนี้เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

เด็กขาดสารอาหารเพราะคนในบ้านสูบบุหรี่

หากสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่
นอกจากควันบุหรี่จะทำลายสุขภาพผู้สูบและคนรอบข้างภายในบ้านแล้ว การซื้อบุหรี่ในแต่ละครั้ง ยังก่อให้เกิดปัญหาค่าใช้จ่ายของครอบครัวโดยเฉพาะ ในเรื่องของอาหารการกินของลูก ๆ ด้วย

ดร. Michael Weitzman แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกุมารเวชศาสตร์ แห่ง School of Medicine มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เผยว่า ปัจจุบันพบว่ามีครอบครัวจำนวนหนึ่งตกอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร โดยมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ เด็ก ๆ

“เวลาอยู่ในโรงเรียน เด็กๆ ดูไม่ค่อยแข็งแรง และไม่สดชื่นเหมือนเด็กคนอื่นๆ โดยเราพบว่าเด็กเหล่านี้ขาดสารอาหารโดยเฉพาะธาตุเหล็ก ทำให้พวกเขาเป็นโรคโลหิตจาง ยิ่งไปกว่านั้น เขายังมีปัญหาทางด้านพฤติกรรมและการเข้าสังคมอีกด้วย”

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ของสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มโครงการศึกษาภาวะขาดสารอาหารในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยศึกษาในประเด็นว่า มีกี่ครอบครัว ที่ผู้ใหญ่สามารถเลี้ยงดูเด็กด้วยอาหารที่มีประโยชน์ตามหลัก โภชนาการ มีกี่ครั้งที่เด็กต้องอดข้าว และกี่ครั้งที่พวกเขาต้องเข้านอนในขณะที่ยังหิวโหย เหล่านี้เป็นต้น

ผลการสำรวจครอบครัวในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 8,817 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือของ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (the U.S. Centers for Disease Control and Prevention) และทีมงานวิจัย พบว่า ในปีที่ผ่านมา มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ใหญ่ 15 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอีก 11 เปอร์เซ็นต์ตกอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร

ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาในครั้งนี้พบว่า 23 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนเหล่านั้น มีสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อย 1 คนที่สูบบุหรี่ ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นบ้านที่มีรายได้น้อยและมีเด็กอยู่ภายในบ้านถึง 3.2 เปอร์เซ็นต์

ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บ้านที่มีเด็กตกอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร เป็นเพราะการหารายได้กับการใช้จ่ายของ ครอบครัวไม่สอดคล้องกัน

ครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ประมาณ 2 - 20 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าเงินที่ได้มานั้น จะถูกลดทอนลงไป ไม่ได้นำมาซื้ออาหารการกิน หรือสิ่งที่มีประโยชน์ จึงเป็นสาเหตุของที่มาปัญหาการขาดสารอาหาร

ดร.Weitzman กล่าวว่า “พ่อแม่เหล่านี้ต้องประหยัดมาก เพื่อที่พวกเขาจะได้นำเงินที่เก็บสะสมไว้ไปซื้อบุหรี่แทนที่จะซื้ออาหารให้ ครอบครัวได้รับประทาน คนเหล่านี้จะซื้อบุหรี่เป็นอันดับแรก แล้วค่อยซื้ออาหารให้ลูก ๆ ทีหลัง”


ดร.Weitzman กล่าวต่อไปว่า ถ้าเศรษฐกิจยังคงตกต่ำต่อไปเรื่อย ๆ การขาดแคลนอาหารและจำนวนคนสูบบุหรี่ก็จะเพิ่มขึ้น เพราะ การสูบบุหรี่เป็นการเสพติดชนิดหนึ่งที่เลิกยากที่สุด ดังนั้นการที่คนสูบเยอะขึ้น พวกเขาจะซื้อแต่บุหรี่ ไม่ได้สนใจเรื่องอาหารและของใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นเหมือนคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้คือการขึ้นค่าภาษีบุหรี่ และบอกถึงผลเสียของตัวมัน ซึ่งเราเชื่อว่าอาจจะเป็นผลดีต่อครอบครัวในเรื่องของค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่เด็ก ๆ จะได้บริโภคตามหลักโภชนาการมากขึ้น

John F. Banzhaf III ผู้อำนวยการบริหารและประธานที่ปรึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และสุขภาพ วอชิงตัน ดี.ซี. องค์กรผู้สนับสนุนบอกว่า "ข้อเสนอทั้ง 2 ประการ ต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน แต่ประการแรกที่ควรจะทำคือ เราต้องเชิญชวน หรือขอความร่วมมือจากแพทย์ให้รณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่ใน ลักษณะเชิงกฎหมายคุ้มครองเด็ก กล่าวคือ การที่พ่อแม่จะสูบบุหรี่ที่บ้าน ในขณะที่มีเด็กยู่ในบ้านจะก่อให้เกิดผลเสีย เป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่เป็นโรคหอบ โรคไซนัสอักเสบ โรคแพ้อากาศ ฯลฯ เพราะจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ"

ประโยชน์ของการเลิกบุหรี่

  1. การหยุดสูบบุหรี่ เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดทันทีที่เลิกบุหรี่ทั้งในเพศชายและหญิง ไม่ว่าจะป่วยจากโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม

  2. ผู้ที่เลิก บุหรี่จะมีอายุยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปโดยผู้ที่เลิกบุหรี่ก่อน อายุ 50 ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังสูบต่อ

  3. การเลิกบุหรี่ จะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งระบบอื่นๆหัวใจวายกะทันหัน เส้นเลือดสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ

  4. ผู้หญิงที่ หยุดสูบบุหรี่ก่อนตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า ปกติ

  5. ผลดีต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.3กิโลกรัม

  6. ความเสียงของการเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดสูบบุหรี่

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินหายใจ

  1. การ หยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งปอดเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อ ไป โดยพบว่าหลังหยุดสูบบุหรี่ 10ปี ความเสียงของการเกิดมะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ30-50ของผู้ที่ยังสูบต่อไป

  2. การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ พบทั้งชายและหญิง ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ก้นกรอง

  3. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งที่คอ และกล่องเสียง

  4. การหยุดสูบบุหรี่ ลดความผิดปกติที่จะกลายเป็นมะเร็งระยะแรกของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียงและปอด

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งระบบอื่นๆ

  1. หลัง จากหยุดสูบบุหรี่ 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งช่องปากและหลอดอาหารส่วนต้นจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับคนที่สูบต่อ และอัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อไปหลังจากหยุดสูบเกิน 5 ปี

  2. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งตับอ่อน การลดนี้จะพบเมื่อหยุดบุหรี่มากกว่า 10 ปีขึ้นไป

  3. อัตราเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกบุหรี่ แม้ว่าจะหยุดเพียง 2-3 ปี

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. การ หยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบลงได้ครึ่งหนึ่งหลังจาก หยุดสูบได้ 1 ปีและจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุด 15 ปีความเสี่ยงจะเหมือนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่

  2. ในผู้ที่ได้ รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่จะลดโอกาสของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสการเสียชีวิตกะทันหันอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงถึงร้อยละ 50

  3. การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสการตีบตันของหลอดเลือดส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นเส้นเลือดตีบตันที่ขา

  4. การ หยุดสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดลมปัจจุบันจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปีแต่บางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 15 ปีความเสียงจึงลดลงเหมือนผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

การหยุดสูบบุหรี่กับโรคปอดชนิดอื่นๆ

  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดอาการหายใจเสียงหวีด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม

  2. ในผู้ที่ยังไม่เป็นถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นร้อยละ5ภายใน2-3เดือนหลังเลิกบุหรี่

  3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบต่อ

การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว

  1. น้ำหนัก ตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 3.5ที่น้ำหนักเพิ่มกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่เพิ่มเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป

  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดไขมัน อาหารทอดจะทำให้คุมน้ำหนักได้

การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์

  1. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักใกล้เคียงเด็กปกติ

  2. ถึง แม้จะมีการลดจำนวนบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ลง

  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี

การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและพฤติกรรมหลังการหยุดสูบบุหรี่

  1. ใน ระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่มักจะมีความกังวล หงุดหงิดอารมณ์ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารมาก มีความอยากสูบบุหรี่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ความรู้สึกอยากบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้นจะยังคงอยู่ต่อไป ระยะหนึ่ง

  2. ในระยะแรกของ การหยุดสูบบุหรี่ สมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลายชนิดที่ต้องใช้สมาธิจะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ แต่ไม่พบความผิดปกติของความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ และการทำงานที่ใช้ความสามารถสูงๆอื่นๆภายหลังสูบบุหรี่

  3. เมื่อเทียบ ระหว่างผู้ที่ยังสูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบมีความมั่นใจในตัวเองสูงกว่า และควบคุมตัวเองได้ดีกว่า

  4. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอื่นๆมากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป