วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

การลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ตามแนวทางศาสนาในสาขาจิตเวช

ศาสนา เป็นทั้งศิลปะ เป็นทั้งศาสตร์ หรือความรู้ ที่ครอบคลุมในสาขาวิชาความรู้ด้านต่างๆ ผู้ศรัทธาในศาสนา ควรได้ศึกษาความรู้ในสาขาวิชาต่างๆไว้บ้าง เพราะความรู้ในสาขาวิชาต่างๆที่มีอยู่ล้วนสามารถใช้เป็นญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนาได้ทุกสาขาวิชา

สำหรับผู้ศรัทธา ในศาสนาพุทธ ก็ควรได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางศาสนาให้แม่นมั่น ไม่ใช่คิดว่าผู้อื่นทำผิดศีลธรรม แล้วตัวเองไปคัดค้านโดย การคัดค้านนั้นกลับกลายเป็นการเบียดเบียนหรือทำลาย ทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ที่กล่าวไปนี้เป็นเพียงเตือนสติคนบางคน บางท่าน ที่อ้างตัวเอาหลักการทางศาสนาขึ้นมาบังหน้า แล้วก็คัดค้านเดินขบวนโดยไม่นึกถึงความเดือดร้อน ลำบากของบุคคลอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ยกตัวอย่าง การเดินขบวนคัดค้านการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทผลิตเบียร์ บุคคลที่เดินขบวนเพื่อคัดค้านการเข้าตลาดหลักทรัพย์เหล่านั้น กระทำตัวเสมือนหนึ่งเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด แต่แท้จริงแล้วพวกเขากำลังเบียดเบียนผู้อื่น กำลังกระทำให้ชีวิตหลายร้อยชีวิตจะต้องตกระกำลำบาก หากทางบริษัทเลิกจ้าง เป็นการกระทำที่ปลายเหตุ เพราะคิดไปว่า ถ้าไม่มีโฆษณา หรือ ไม่ให้ สินค้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คนไทยจะเลิกการดื่มสินค้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งในทางที่เป็นความจริงแล้ว การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้น มีอยู่ในสังคมไทยมานานหลายร้อยปีโดยเฉพาะระดับรากหญ้า เขาดื่มกันเพราะเพื่อทำให้เลือดลมเดินสะดวก หายปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก (แม้จะเป็นเพียงความคิดที่สืบทอดกันมา) ดังนั้นในสังคมชนบท จึงได้มีการต้มเหล้าหรือกลั่นสุรากันเองเพื่อเอาไว้ดื่ม อย่างนี้เป็นต้น และที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ก็คือสาเหตุแห่ง บทความ การลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ตามแนวทางศาสนาในสาขา จิตเวช

ผู้ที่เสพ บุหรี่ และดื่มเหล้า หากจะกล่าวไปแล้ว นับได้ว่า เป็นอาการที่เกิด

ทางจิต หรือเกี่ยวข้องกับจิต เพราะจะเกิดความคิดขึ้นเองขณะมีความอยากบุหรี่หรืออยากดื่มสุรา ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนี้ข้าพเจ้าประสบมาด้วยตัวเอง เพราะข้าพเจ้าเองก็เป็นนักดื่มสุรา และสูบบุหรี่จัด คือดื่มสุราวันละครึ่งขวดใหญ่ สูบบุหรี่วันละ 2 ซองเป็นอย่างต่ำ และได้เลิก บุหรี่ สุราไปแล้ว 8 ปี จึงได้รู้ว่า ผู้ที่สูบหรี่ และดื่มสุรานั้น เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง

การลด ละ เลิก สุรานั้น ทำได้ง่ายกว่า บุหรี่ เพราะบุคคลส่วนใหญ่จะดื่มสุราเฉพาะตอนเย็น เลิกงานแล้ว หรือดื่มสังสรรค์กัน ไม่เหมือนบุหรี่ ที่เลิกยากกว่า เพราะคนส่วนใหญ่มักสูบหรี่ เกือบทุกชั่วโมง จึงเลิกบุหรี่ได้ยากกว่าสุรา

ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะ ลด ละ เลิก สุรา ในตอนนี้จะนำเสนอการ ลด ละ เลิกสุราเป็นอันดับแรก เพราะสุรา ลด ละเลิกได้ ง่ายกว่า ซึ่งท่านทั้งหลายที่ติดสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ก็ควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมองหรือความจำ หรือประสาทของเรา เพื่อเป็นแนวทางในการ ลด ละ เลิกสุรา เพราะการที่เราดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม เกิดจาก ข้อมูลความจำ เกี่ยวกับผลดีของสุราถูกเก็บไว้ในสมอง ทำให้เกิดเป็นกลไกอัตโนมัติ ไปขับประสาทส่วนต่างๆ ทำให้เกิดความอยากเมื่อถึงเวลา หรือเมื่อเห็นหรือกระทบสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ทางจิตใจ ก็จะเกิดความต้องการดื่ม ข้อมูลความจำในผลดีแห่งการดื่มสุรานั้น เกิดจากการที่เรา ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น และได้ลองดื่ม จากการดื่มเป็นบางครั้ง จนกระทั่ง กลายเป็นการดื่มอยู่เป็นนิจ การที่บุคคลใดใด จะลด ละ เลิก สุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ได้นั้น ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลความจำที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นๆ หากข้อมูลความจำในผลดีแห่งการดื่มสุราฯถูกลบไป ก็จักสามารถลด ละ เลิก สุราฯได้อย่างถาวร

แล้วทำอย่างไรจึงจะลบข้อมูลเกี่ยวกับดื่มสุราในตัวเราให้หมดไป เราจะลบข้อมูลเหล่านั้นได้ ก็โดยการบรรจุข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่า การบรรจุข้อมูลใหม่เข้าไป ก็ต้องใช้วิธีท่องจำอยู่เป็นนิจ ทุกครั้ง ทุกเวลาที่เกิดอาการอยากดื่ม และต้องมีสิ่งประกอบ หรือตัวช่วยในการลด ละเลิก คือต้องหา

สิ่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มาทดแทน เช่น น้ำดื่มสะอาด นม โอวัลติน ไมโล หรือ ขนมขบเคี้ยวต่างๆทั้งที่มีราคาถูก หรือมีราคาสูง อันนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจและฐานะทางครอบครัวของแต่ละบุคคล เมื่อเกิดอาการอยากหรือเกิดความคิดที่ต้องการจะดื่ม ก็ให้ท่องจำหรือจะเรียกว่าใช้ความคิด คือท่องจำอยู่ในใจว่าไม่ใช่อยากดื่มสุรา แต่อยากดื่มน้ำ หรืออยากกินขนม ท่องอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตคิดอยากจะดื่ม หรือท่องจำว่า เหม็น เสียสุขภาพ อยากดื่มโอวัลติน ไมโล เมื่อกระทำอยู่อย่างที่ผู้เขียนได้แนะนำไปแล้วนั้น ย่อมสามารถลด ละเลิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะไม่หวนกลับไปดื่มอีกเลย เพราะข้อมูลในเรื่องการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะถูกลบจากสมอง แต่จะมีข้อมูลใหม่คือดื่มน้ำ กินขนม ดื่มเครื่องบำรุงร่างกาย สุราเหม็นเสียสุขภาพ ไม่มีประโยชน์ บรรจุเข้าไว้ในสมองแทนทำให้สามารถลด ละ เลิกได้ ระยะเวลาสั้นที่สุดในการใช้วิธีนี้ เพียง 1 สัปดาห์ หรือ 7 วัน ก็จะสามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาด แต่จะมีอาการอยากดื่ม เมื่อได้รับการกระทบ หรือประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ แต่เราก็สามารถแก้ไขได้ โดยวิธีการท่องจำหรือใส่ข้อมูลตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

วิธีการ ลด ละเลิก สุรา หรือเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ตามหลักการศาสนาในสาขาจิตเวชนี้ จำเป็นต้องอาศัยความต้องการที่จะเลิกของตัวบุคคลนั้นๆเป็นเกณฑ์ หากบุคคลนั้นๆต้องการลด ละเลิก สุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แล้วละก้อ ย่อมสามารถใช้อย่างได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะวิธีการลด ละเลิก ตามหลักการทางศาสนาในสาขาจิตเวชนี้ จะมองผู้ที่ดื่มสุรา หรือติดเหล้าติดสุรา ติดบุหรี่ ในแง่ของความต้องการทางจิต เป็นอาการทางจิต อันสืบเนื่องมาจากข้อมูลความจำ ที่ได้รับการสั่งสมมาจากประสบการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ได้ยิน ได้เห็น ได้ทดลอง ซึ่งตัวผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้า และวิจัย และสามารถใช้วิธีการดังกล่าว ลด ละเลิก สุรา และบุหรี่ อย่างได้ผลเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับผู้ที่ต้องการลด ละเลิก อย่างจริงจังแล้ว อาจจะ

เสริมวิธีการอื่นๆเข้าไป อีกเช่น ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์เช่นอ่านหนังสือหาความรู้ หรือ เมื่อเกิดความอยากมากๆ ก็อาบน้ำ หาอะไรทำเพลินๆ เพราะเรื่องของจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ขนาดแค่เห็นอาหารที่สามารถเป็นกับแกล้มได้ ยังเกิดอาการอยากดื่ม อย่างนี้เป็นต้น

ส่วนการลด ละเลิก บุหรี่นั้น ก็มีสาเหตุการติดหรือสาเหตุการเสพ คล้ายการดื่มสุรา คือเกิดจากการได้รับประสบการ การได้ยิน ได้เห็น ได้ทดลองสูบ จนกลายเป็นความคิด ความเข้าใจ กลายเป็นข้อมูลที่ฝังอยู่ในสมองแล้วไปกระตุ้นประสาท ส่วนต่างๆให้เกิดความ อยากสูบบุหรี่ แต่การสูบหรือเสพบุหรี่นั้น จะถี่กว่าการดื่มสุรา เช่น ดีใจสักนิด อารมณ์ดีสักหน่อย คิดไม่ออก คิดออก หลังอาหาร ขณะดื่มสุราหรือของดื่มมึนเมา ก็มักจะสูบบุหรี่ ตัวผู้เขียนเองเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 14-15 ปี ตามเพื่อน ตามที่ได้เห็นผู้ใหญ่เขาสูบ เกิดความคิดว่าเท่ ขณะสูบบุหรี่จะทำให้ตัวเองเป็นจุดสนใจ อะไรทำนองนี้ สูบบุหรี่ประมาณ 30 ปี จึงตัดสินใจเลิก เพราะสูบจัดมาก วันละ 2 ซองเป็นอย่างน้อย การเลิกของบุหรี่ของผู้เขียน ก็เลิกหลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้า วิชชา ทางศาสนา และได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านจิตมาบ้างพอสมควร ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่า การที่คนเราเสพบุหรี่ และเลิกมันไม่ได้นั้น เกิดจากข้อมูลที่ถูกจดจำอยู่ในสมอง แล้วแปลงเป็นกระแสคลื่นไหลเข้าสู่ระบบประสาทส่วนต่างๆ ทำให้เกิดอาการอยากสูบเมื่อได้กระทบหรือสัมผัสกับสภาพการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงใช้หลักการทางศาสนาอันเป็นสาขาจิตเวช ลด ละเลิก บุหรี่ ผู้เขียนใช้เวลา 1 เดือนในการเลิกสูบ โดยใช้หลักการความคิดคัดค้านความคิด หรือจะเรียกว่า ใช้ข้อมูลใหม่ลบข้อมูลเก่า และใช้เมล็ดทานตะวัน ประกอบการบรรจุข้อมูลใหม่ คือเมื่อเกิดอาการอยากสูบ ก็จะท่องในใจว่าอยากกินเมล็ดทานตะวัน และก็จะกินเมล็ดทานตะวัน และก็จะท่องอีกว่า บุหรี่เหม็น ทำให้ผู้อื่นเหม็นตามด้วย ถ้าอยู่ในบ้าน ก็จะท่องจำและกินเมล็ดทานตะวัน อาบน้ำ อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกาย ควบคู่กันไปด้วย หลังอาหาร จะเกิดความอยากสูบบุหรี่

มากที่สุด ก็จะท่องและกินเมล็ดทานตะวัน หากอยู่นอกบ้าน เห็นผู้อื่นสูบเราก็จะเกิดความอยากสูบตาม ก็จะท่อง หรือเมื่ออยู่ใกล้กับคนสูบบุหรี่ก็จะท่องว่ามันเหม็น ซึ่งจริงๆแล้วก็เหม็นจริงๆ หากเลิกสูบได้แล้วก็จะรู้ว่าผู้ที่สูบบุหรี่นั้น มีกลิ่นเหม็นของบุหรี่ออกตามตัวด้วย แม้จะหยุดสูบไปแล้วก็ตาม ส่วนการกินเมล็ดทานตะวันนั้น มีข้อเสีย คือทำให้น้ำหนักขึ้น 1 เดือน น้ำหนักขึ้น 11 กิโลกรัม ท่านที่ต้องการลด ละเลิก บุหรี่ อาจจะใช้การกินขนมขบเคี้ยวอย่างอื่น อันนี้ก็แล้วแต่สภาพทางเศรษฐกิจ หรือฐานะทางครอบครัว อาจต้องคำนึงถึงการพกพาไว้ติดตัวตลอด เรียกว่าพก ของขบเคี้ยวแทนบุหรี่ และข้อสำคัญต้องท่องจำหรือใส่ข้อมูลว่า ไม่ใช่อยากสูบบุหรี่ แต่อยากกินของขบเคี้ยวที่เรามีอยู่ ต้องท่องจำถึงผลเสียของบุหรี่อย่างสั้นๆ พอนึกอยากก็ต้องท่องว่าอยากกินขนมขบเคี้ยวอย่างนี้เป็นต้น

ที่ได้กล่าวไปทั้งหมด เป็นวิธีการลด ละเลิก สุรา และบุหรี่ ด้วยวิธีการทางศาสนาในสาขาจิตเวช เพราะจะต้องเกี่ยวโยงถึงความมีสติ คือระลึกนึกถึงได้ และความมีสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว ไม่เผลอตัว อันล้วนเกี่ยวข้องกับ ความรู้ ความจำ ความรู้สึก และการปรุงแต่ง ซึ่งการ ลด ละเลิก บุหรี่ และสุรานั้นจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของบุคคล นั้นๆ และผู้เขียนขอรับประกันได้เลยว่า หากบุคคลนั้นๆต้องการลด ละเลิก อย่างแท้จริงแล้วละก้อ การลด ละเลิก ด้วยวิธีการทางศาสนาในสาขา จิตเวช มีประสิทธิภาพประสิทธิผล 100 เปอร์เซ็นต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น