วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มารู้จักนิโคตินกันเถอะ

เมื่อ เราได้ยินคำว่า "นิโคติน" เรามักจะนึกถึงแต่เฉพาะบุหรี่ ซึ่งบุหรี่นั้นผู้ที่สูบมักจะมีค่านิยมที่ผิดว่าสูบแล้วเท่ และทำให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสังคมวัยรุ่น ซึ่งความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดเนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลเสียต่อ สุขภาพทั้งของผู้สูบและผู้อยู่รอบข้าง ซึ่งที่จริงแล้ววัยรุ่นสามารถเป็นหนึ่งหรือเด่นได้โดยไม่ต้องอาศัยหรือพึ่ง พายาเสพติด ดังเช่นแนวทางของโครงการ to be number 1. ของทูลกระหม่อมฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ อันที่จริงแล้วนิโคตินมีหลายรูปแบบ และบางรูปแบบก็มีประโยชน์ทางยา ดังนั้นเราจึงควรทำมาความรู้จักนิโคตินให้ดีขึ้น

นิโคตินคืออะไร

นิโคติน จัดเป็นสารพวกอัลคาลอยด์ และสามารถสกัดได้จากพืชใน genus nicotiana หลาย species แต่ส่วนมาก species ที่พบนิโคตินมากที่สุดคือ tabacum ต่อ มาพบว่ามีการศึกษาทดลองพบว่ามีผลที่คาดไม่ถึงที่เกิดจากนิโคตินที่เกิดที่ สมองและร่างกายของผู้เสพ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่และพบว่าการติดนิโคตินส่วนใหญ่จะเกิดจากการสูบบุหรี่ มากที่สุด ส่วนนิโคตินที่ติดน้อยลงมาจะเป็นรูปแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง รูปแบบเคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง รูปแบบยาพ่นจมูก (nasal spray) รูปแบบ inhaler (เครื่องใส่ยาดม)
สูตรทางเคมี : c10h14n2
ชื่อ ทางเคมี : 1-methyl-2-(3-pyridyl)pyrrolidine; beta-pyridyl-alpha-n-methylpyrrolidine ; (s)-3-(1-methyl-2-pyrrolidinyl)pyridine; 3-(1-methyl-2-pyrrolidinyl)pyridine
ลักษณะทางกายภาพ : เป็นของเหลวลักษณะคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี แต่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อนำไปเผาไฟและมีกลิ่นคล้ายกลิ่นยาสูบเมื่อ ปล่อยทิ้งไว้ในอากาศ
รูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่
บุหรี่ , ซิการ์, ซิกาแรตต์ , แบบแผ่นแปะผิวหนัง (transdermal), แบบเคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง (chewing gum) ซึ่ง 2 แบบหลังใช้สำหรับรักษาผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ (nicotine replacement therapy) นอกจากนี้ยังพบในยานัตถุ์, ยาเส้น อีกด้วย

วิธีรับนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย
- สูบ (smoking) (เช่น บุหรี่ เป็นซิการ์ (cigar ) หรือ ซิการ์แร็ตส์ (cigarettes)) , ผสมกับสารอื่นเช่น กัญชา เฮโรอีน แล้วมวนเหมือนซิการ์แร็ตส์แล้วสูบ
- สูด (snuff) เช่น ยานัตถุ์
- เคี้ยว (chewing) เช่น หมากฝรั่ง, ยาเส้น
- แปะที่ผิวหนัง (transdermal)
ฯลฯ

การดูดซึม
นิโคติน จะถูกดูดซึมทางผิวหนังและเยื่อเมือกที่บุผิวเช่นที่ในปากและในจมูก หรือการสูดดมทางปอด ปริมาณของนิโคตินและความรวดเร็วที่ร่างกายได้รับจะขึ้นอยู่กับวิธีการเสพ โดยการสูดควันพบว่าจะได้รับนิโคตินเป็นปริมาณที่มากและเร็วกว่าวิธีอื่นๆ

เภสัชวิทยาของนิโคติน
นิโคติน ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทเมื่อเสพในขนาดที่ต่ำๆจะกระตุ้นระบบประสาททำให้รู้สึก มีความสุข แต่ถ้าเสพในขนาดสูงนิโคตินจะมีผลต่อระบบประสาทที่ไปควบคุมระบบฮอร์โมนที่ เกี่ยวกับการหลั่งสาร โดยเฉพาะนิโคตินจะไปเพิ่มสารโดปามีน (dopamine) ในสมองและสารอื่นๆในร่างกายอีกด้วย เมื่อเสพนิโคตินแล้วผลที่แสดงออกทางร่างกายที่พบก็คือ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เกิดการทนต่อยาทำให้ต้องการเสพยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และเมื่อหยุดยาจะทำให้เกิดการถอนยา

พิษของนิโคติน
อาการพิษเฉียบพลัน
เมื่อ สูดดมอาจมีอาการแสบร้อนคล้ายถูกไฟไหม้ คลื่นไส้อาเจียน ชัก ซึ่งอาจนำมาสู่การหายใจล้มเหลวได้ ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย มึนงง สับสน อาจมีผื่นแดงที่ผิวหนัง รู้สึกปวดแสบปวดร้อนเหมือนไฟไหม้ แสบตา ตาแดง นอกจากนี้นิโคตินยังสามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งระบบประสาทส่วนกลาง

อาการพิษในระยะยาว
จากการทดลองในสัตว์พบว่าการได้รับนิโคตินในระยะยาวจะมีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์ และสามารถทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้

ความเป็นพิษของนิโคติน
นิโคติน มีค่า ld=60 mg. ซึ่งค่า ld นี้เป็นตัวที่บ่งบอกว่านิโคตินเป็นสารที่มีอันตรายสูง ในขณะที่ซิการ์มีสารนิโคตินอยู่ถึงมวนละ 100-120 mg. เนื่องจากในต่างประเทศได้เห็นว่านิโคตินมีอันตรายมากและขณะเดียวกันมีการเสพ สูงขึ้นมากในหมู่วัยรุ่นจึงได้ทำการพิจารณาและออกกฎใหม่เพื่อที่จะควบคุมสาร ตัวนี้ให้เข้มงวดมากขึ้น และในปัจจุบันในต่างประเทศเรื่องการสูบบุหรี่หรือการใช้นิโคตินและการติด บุหรี่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องรีบจัดการแก้ไขเนื่องจากการสูบบุหรี่มีผล กระทบต่อสุขภาพของประชาชนจำนวนมากในประเทศ และทำให้เกิดการติดนิโคติน จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพ สังคม สภาวะแวดล้อม

นิโคตินสามารถเสพติดหรือไม่
นิโคติน สามารถเสพติดได้ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดหรือผู้ที่ได้รับนิโคตินรูปแบบอื่นๆ ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและ/หรือเป็นเวลานาน การติดนิโคตินนั้น เมื่อติดแล้วสามารถเลิกได้ยากอีกด้วย จากการศึกษาข้อมูลเมื่อเร็วๆนี้พบว่านิโคตินสามารถทำลายสมองได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้พฤติกรรมของผู้เสพเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสมองเป็นส่วนที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะและควบคุมการแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆ สมองแต่ละส่วนควบคุมส่วนต่างและหน้าที่ต่างๆแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อนิโคตินทำลายสมองส่วนใดของผู้เสพจะทำให้อวัยวะหรือพฤติกรรมที่ สมองส่วนนั้นๆควบคุมอยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงไป

นิโคตินสามารถเสพติดได้หรือไม่
จาก การศึกษาจากข้อมูลต่างๆ ในต่างประเทศจัดว่านิโคตินเป็นยาที่สามารถเสพติดได้และยังพบว่ามีคนจำนวนมาก ทีเดียวติดยานิโคตินเดี่ยวๆ (โดยเฉพาะบุหรี่) มากกว่าติดนิโคตินที่ใช้ร่วมกับสารอื่นๆมีการศึกษาของ nhsda (national household survey on drug abuse ) ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่านิโคตินสามารถเสพติดได้เท่ากับเฮโรอีน และยังพบว่าผู้เสพนิโคตินโดยการสูบบุหรี่มีอัตราการตายสูงกว่าผู้ไม่เสพ นิโคตินอย่างสูงมาก การเสพนิโคตินทำให้อัตราการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่ไม่เสพมากโดยอัตราการเกิด มะเร็งมากขึ้นตามจำนวนนิโคตินที่ผู้เสพรับเข้าไป นอกจากนี้แล้วนิโคตินจะเพิ่มอัตราการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) โรคหัวใจ และยังมีผลต่อทารกในครรภ์อีกด้วย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ (secondhand smoker) จะมีอัตราการตายก่อนวัยอันควรแม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม และนอกจากนี้ยังพบว่าบุหรี่หรือนิโคตินสามารถทำลายสมองของผู้เสพนิโคตินอีก ด้วย ในขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกานี้ถือว่าการติดนิโคตินหรือติดบุหรี่เป็น วิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่ในวงการสาธารณสุข นิโคตินเป็นสิ่งเสพติดที่ถือเป็นด่านแแรกที่นำไปสู่ยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น ได้ เช่นสุรา โคเคน เฮโรอีน ยาอี ฯลฯ u.s.fda มีความพยายามที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมบุหรี่เสียใหม่ โดยจะจัดให้เป็น"ยา" (tobacco as a drug)

การควบคุมตามกฎหมาย
บุหรี่ -พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 พ.ศ. 2545
นิโคติน ในรูปแปะและรูปที่เคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง -พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2534


Computer Hardware Repair Systems

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น